ผู้ชมทั้งหมด 330
WHAUP ลั่นพร้อมชิงโควตาผลิตไฟพลังงานสะอาดในแผน PDP 2024 จ่อร่วมประมูลโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เฟส 2 ชี้ ยังรอความชัดเจนมาตรการ Direct PPA มั่นใจผลการดำเนินงานปีนี้โตตตามเป้า
นายสมเกียรติ เมสันธสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ WHAUP เปิดเผยว่า จากกรณีที่กระทรวงพลังงาน ได้เปิดรับฟังความคิดเห็น “ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2567-2580 (PDP 2024)” ทำให้ผู้ลงทุนในธุรกิจพลังงาน รวมถึงนักลงทุนที่จะเข้ามาขยายฐานการลงทุนในประเทศไทยเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น เนื่องจากในแผนPDP ฉบับนี้ มีการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นถึง 51% ตอบโจทย์เทรนด์โลกที่มุ่งเรื่องการใช้พลังงานสะอาดเพื่อปัญหาลดโลกร้อน และสิ่งที่ผู้ประกอบการยังรอความชัดเจนในลำดับต่อไป คือเรื่องของการออกมาตรการส่งเสริมให้บริษัทเอกชนซื้อขายไฟฟ้าพลังงานสะอาด และพลังงานทดแทนได้โดยตรงจากผู้ผลิตไฟฟ้า หรือ Direct PPA (Purchase Power Agreement) ที่รัฐควรมีความชัดเจนรายละเอียด เช่น เรื่องการกำหนดพื้นที่โครงการ ,อัตราค่าบริการสายส่งไฟฟ้า (Wheeling Charge) ,ข้อกำหนดการเชื่อมโยงระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Code) รวมถึงแผนพัฒนาสายส่ง เป็นต้น ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นการเปิดโอกาสการลงทุนในกับผู้ผลิตไฟฟ้า และยังเพิ่มทางเลือกใช้กับผู้ที่ต้องการใช้พลังงานสะอาดอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม จากร่างแผน PDP 2024 ที่ส่งเสริมการรับซื้อไฟ้ฟาจากพลังงานหมุนเวียน สัดส่วน 51% ของกำลีงการผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ อยู่ที่ 34,851 เมกะวัตต์ และรัฐเตรียมเปิดรับซื้อไฟฟ้าโครงการพลังงงานหมุนเวียน เฟส2 อีก 3,668.5 เมกะวัตต์นั้น บริษัท มีความพร้อมจะเข้าร้วมประมูลทั้งโครงการโซลาร์ฯ ลม และขยะ หลังจากที่โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) เฟส 1 ที่บริษัทได้รับการคัดเลือกจำนวน 5 โครงการ คิดเป็นกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้น 125.4 เมกะวัตต์ ปัจจุบันได้มีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ EGAT และ PEA เสร็จสิ้นแล้ว 4 โครงการ จำนวนรวม 85 เมกะวัตต์ เหลือ อีก 1 โครงการ กำลังการผลิตราว 40 เมกดะวัตต์ คาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาได้ภายในเดือน มิ.ย.นี้
สำหรับแนวโน้มผลการดำเนินงานในช่วงที่เหลือของปีนี้ บริษัท คาดว่า จะเติบโตตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยคาดว่า ภาพรวมรายได้ปีนี้ จะเติบโต 2 หลัก เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีรายได้รวม 2,801 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 1,631 ล้านบาท โดยมีปัจจัยหนุนมาจากทิศทางกลุ่มธุรกิจทั้งธุรกิจสาธารณูปโภค(น้ำ) และธุรกิจไฟฟ้า ที่คาดว่าจะเติบโตขึ้น เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งบริษัทตั้งเป้ามีปริมาณยอดจำหน่าย และบริหารน้ำทั้งในและต่างประเทศรวมกันเท่ากับ 178 ล้านลูกบาศก์เมตร เติบโตประมาณ 15% จากปีก่อนที่ทำได้ 155 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ไตรมาส 1/2567 ทำได้ 40 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเติบโตขึ้นทุกผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะน้ำดิบ (Raw Water) จากปริมาณความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นจากลูกค้ากลุ่มพลังงานและกลุ่มปิโตรเคมี และผลิตภัณฑ์น้ำมูลค่าเพิ่ม (Value-added Product) จากปริมาณการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นจากลูกค้ารายใหม่
รวมถึง ธุรกิจไฟฟ้า คาดว่า จะเติบโตมากกว่า 10% เมื่อเทียบกับปีก่อนอยู่ที่ 858 เมกะวัตต์ มาอยู่ที่ 1,000 เมกะวัตต์ภายในสิ้นปีนี้ โดยในส่วนของธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ในไตรมาส 1/2567 บริษัทได้ลงนามในสัญญาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ประเภท Private PPA เพิ่มจำนวน 15 สัญญา กำลังการผลิตรวม 59 เมกะวัตต์ ส่งผลให้ ณ สิ้นไตรมาส 1/2567 บริษัทมีการลงนามในสัญญาโครงการ Private PPA สะสมทั้งสิ้น 242 เมกะวัตต์ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นโครงการที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วรวม 125 เมกะวัตต์