ผู้ชมทั้งหมด 1,011
“CEO พลังงานบริสุทธิ์” แนะรัฐบาล เร่งแก้ปัญหาต้นทุน “ค่าพลังงานแพง” พร้อมปรับ “Mindset” สร้างโอกาสประเทศไทยก้าวพ้นวิกฤต ขณะที่ EA ชู ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยนวัตกรรม “แบตเตอรี่” และ “ไบโอเจท” รองรับเทรนด์โลกมุ่งพลังงานสะอาด ดึงดูดลงทุนต่างชาติ
นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA เปิดเผยในงานสัมมนา “Thailand : New Episode บทใหม่ประเทศไทย 2023” ภายใต้หัวข้อ “เดินหน้า New S-curve” โดยระบุว่า ภาพรวมของประเทศไทยในปัจจุบันกำลังเผชิญกับปัญหาวิกฤตพลังงานแพง อันเป็นผลมาจากการที่ประเทศไทยมีกำลังผลิตไฟฟ้ามากกว่าความต้องการใช้(ดีมานด์) สูงถึง 40-50% ขณะที่ประเทศอื่นส่วนใหญ่จะต่ำกว่า 10% ซึ่งสืบเนื่องจากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดจนเกินการสร้างโรงไฟฟ้าจำนวนมาก และส่งผลกระทบต่อต้นทุนพลังงานแพงขึ้น ขณะที่เดียวกันไทยยังพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าในปริมาณสูง โดยเฉพาะการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG) เข้ามาผลิตไฟฟ้า ทำให้ราคาค่าไฟแพงขึ้น อีกทั้งกำลังการผลิตก๊าซฯในอ่าวไทยที่ใช้มากว่า 30 ปีมีปริมาณลดลงและยังเผชิญกับช่วงการเปลี่ยนผ่านผู้รับสัมปทานทำให้ปริมาณการผลิตก๊าซฯต่ำกว่าแผน และหากจะพัฒนาแหล่งก๊าซฯใหม่ๆขึ้นมาทดแทนก็ต้องใช้เวลา นอกจากนี้ ราคาไฟฟ้าก็ไม่สะท้อนต้นทุนในการผลิต ณ เวลานั้นๆ รวมถึงโครงสร้างระบบสายส่งยังเป็นอุปสรรคในการพัฒนาระบบ ประกอบกับวิธีการบริหาร Energy Source ยังเป็น Mindset เดิม
“เราติดกับดักสร้างโรงไฟฟ้ามากถึง 50% และยังเป็นการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ขณะที่ราคาต้นทุนพลังงานยังแพง ถ้าไม่หลุดจากปัญหานี้ ประเทศจะไปต่อได้ยาก เพราะโลกเปลี่ยนไปสู่การใช้พลังงานสะอาด และเม็ดเงินลงทุนโดยตรวจทกต่างชาติ (FDI)ที่ไหลเข้าสู่อาเซียน กว่าครึ่งเข้าสู่สิงคโปร์ ฉะนั้นไทยต้องเร่งปรับวิธีบริหารจัดการ”
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ “พลังงานบริสุทธิ์” ได้วางวิสัยทัศน์ E@ Strategy โดยเน้นเทรนด์พลังงานสะอาดทั้งการลงทุนในธุรกิจแบตเตอรี่ และไบโอเจท ซึ่งในส่วนของไบโอเจท ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่มีประสิทธิว่า “โฮโดรเจน” ที่ยังมีข้อเสียเรื่องต้นทุนแพง และอันตราย โดยปัจจุบัน EA มีธุรกิจโรงงานผลิตรถไฟฟ้า ที่ใช้วัตถุดิบในประเทศถึง70% ซึ่งจะช่วยเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ มีธุรกิจเรือไฟฟ้าที่วิ่งอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเมกะชาร์จ ขนาด 3 เมกะวัตต์ และมีสถานีชาร์จรถEVที่เชื่อมต่อโครงสร้างรถสาธารณะ
“ถ้าประเทศไทยต้องการหลุดจากปัญหาและเติบโตแบบก้าวกระโดดต้องแก่เรื่องค่าพลังงานและเปลี่ยน Mindset”
ทั้งนี้ วิธีที่ทำให้ค่าพลังงานถูกลงและไม่หลุดเทรนด์โลก มองว่า ไทยต้องลดนำเข้า LNG ปรับเพิ่มการรับซื้อพลังงานสะอาดทุกประเภท โดยเฉพาะพลังน้ำ เปลี่ยนวิธีการเดินโรงไฟฟ้าใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและมีข้อมูลเรียลไทม์ พร้อมส่งเสริมใช้รถ EV ให้เป็นรูปธรรมเน้นรถขนส่งและรถสาธารณะ และต้องเปลี่ยนวิธีการควบคุมเอทานอล เพื่อเพิ่มศักยภาพการส่งออกและการนำไปใช้งาน ตลอดจนส่งเสริมการผลิจไบโอเจททดแทนการใช้น้ำมันดีเซลที่ลดกลง
ขณะเดียวกัน รัฐบาลจำเป็นต้องผลักดันการขับเคลื่อนประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 เพื่อบรรลุเป้าหมาย “Thailand first” ด้วยการวางยุทธศาสตร์เน้น How and When ทำให้เป็นจริงขึ้นมาให้ได้ พร้อมกระตุ้นการแข่งขัน โดยรัฐต้องมีวิสัยทัศน์กล้าทำอะไรใหม่ๆ เพราะถ้าคิดเหมือนเดิมก็ได้เหมือนเดิม ดังนั้น ต้องมองวิกฤตให้เป็นโอกาส