BPP ชูหลัก ESG พาองค์กรขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืน

ผู้ชมทั้งหมด 1,971 

การพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development) กลายเป็นเมกะเทรนด์ที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจมาอย่างต่อเนื่อง เพราะสภาพแวดล้อมในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปและมนุษย์มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ หากเรายังใช้ชีวิตหรือดำเนินธุรกิจโดยไม่สนใจผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม อีกไม่นานธรรมชาติอาจส่งคำเตือนที่รุนแรงยิ่งขึ้นมาถึงพวกเราแน่นอน

เหตุนี้หลายองค์กรมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยหลักการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (Environment, Social and Governance) หรือ ESG มากขึ้น ซึ่งในฝั่งของผู้บริโภค งานวิจัยของ PWC ชี้ชัดว่า มีผู้บริโภคถึง 83% ที่มองว่าบริษัทต่างๆ ควรพัฒนาแนวปฏิบัติอย่างจริงจังเพื่อให้ตอบโจทย์ตามหลัก ESG ในขณะที่  86% ของพนักงานก็อยากทำงานให้กับบริษัทที่ยึดหลัก ESG เช่นเดียวกับเขา (ที่มา: 2021 ESG Consumer Intelligence Series: PwC) เพราะสิ่งเหล่านี้จะสะท้อนถึงวิสัยทัศน์ของบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ได้มุ่งแต่จะแสวงหาผลตอบแทนที่อยู่ในรูปของผลกำไรเพียงอย่างเดียว

BPP ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าคุณภาพเพื่อโลกที่ยั่งยืน

ภายใต้หลักการ ESG คือที่มาของการดำเนินงานของบริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP ผ่านกลยุทธ์ Greener & Smarter เพื่อมุ่งส่งมอบพลังงานไฟฟ้าที่สะอาดและฉลาดขึ้น ด้วยจุดยืนในการเป็นผู้นำในธุรกิจพลังงานไฟฟ้าคุณภาพเพื่อโลกที่ยั่งยืน (We ARE Power for the Sustainable World) บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการสร้างความสมดุลของพอร์ตโฟลิโอ ทั้งจากพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไปและพลังงานหมุนเวียน ตามหลักของความยั่งยืนด้านพลังงาน อันสะท้อนให้เห็นถึงความรับผิดชอบและความตั้งใจที่จะส่งมอบพลังงานไฟฟ้าคุณภาพในราคาที่เหมาะสม (Affordable) สามารถส่งมอบพลังงานได้อย่างต่อเนื่อง (Reliable) และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Friendly)

นายกิรณ ลิมปพยอม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า  BPP มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) โดยได้เชื่อมโยงเป้าหมาย SDGs 6 ข้อเข้ากับ กลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัทตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ เช่น การกำหนดเป้าหมายกำลังผลิตไฟฟ้า 5,300 เมกะวัตต์ โดยมีกำลังผลิตจากพลังงานหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 800 เมกะวัตต์ ภายในปี 2568 และการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้า ซึ่งสอดคล้องกับ SDG ข้อที่ 7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้, การให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยในการทำงาน

โดยตั้งเป้าการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงและเจ็บป่วยจากการทำงานทั้งพนักงานและผู้รับเหมาเป็นศูนย์ สอดคล้องกับ SDG ข้อที่ 8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ, การกำหนดอัตราการปล่อยมลสารในโรงไฟฟ้าประเภทเชื้อเพลิงทั่วไปอยู่ในระดับต่ำ (Ultra-low Emissions) และปฏิบัติตามกฎหมายด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด สอดคล้องกับ SDG ข้อที่ 9 โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม และอุตสาหกรรม,
หรือการกำหนดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยผลิตภัณฑ์
และการวางระบบการบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ ซึ่งสอดคล้องกับ SDG ข้อที่ 13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น

นอกจากนี้ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในบริษัท Flagship ของกลุ่มบ้านปู เรายึดมั่นในปณิธานเดียวกันที่ว่า “อุตสาหกรรมที่ดีจะต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม” ซึ่งได้นำไปเป็นหลักปฎิบัติในทั้ง 7 ประเทศที่เราเข้าไปดำเนินธุรกิจ ได้แก่ ประเทศไทย สปป.ลาว จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่และความต้องการของชุมชนโดยรอบเป็นสำคัญ การเป็นพลเมืองที่ดีในทุกพื้นที่นี้ถือเป็นหนึ่งในจุดแข็งของ BPP ที่ช่วยให้การบริหารโครงการ โรงไฟฟ้า และความสัมพันธ์กับชุมชนรอบข้างเป็นไปได้อย่างราบรื่น

ทั้งนี้ BPP มีการกำหนดนโยบายด้าน ESG ที่สอดคล้องและเป็นเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับกลุ่มบ้านปู และมีคณะกรรมการการพัฒนาที่ยั่งยืน (Banpu Power Sustainable Development Committee) ในการกำกับดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย เพื่อสร้างประโยชน์อย่างสมดุลให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

สิ่งแวดล้อมคือหัวใจสำคัญสำหรับ BPP

ปัญหา “ก๊าซเรือนกระจก” เป็นหนึ่งความจำเป็นเร่งด่วนที่ BPP ให้ความสำคัญมาโดยตลอด
และเป็นเหตุผลให้บริษัทฯ เลือกลงทุนในธุรกิจพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น (Greener) เพื่อตอบรับกับเทรนด์ Decarbonization ทั้งโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติและโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ตลอดจนการขยายการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานผ่าน “บ้านปู เน็กซ์” เช่น โซลาร์ รูฟท็อป ระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า ยานพาหนะไฟฟ้า การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และโซลูชันด้านเทคโนโลยีพลังงานรับเทรนด์พลังงานแห่งอนาคต ส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป

บริษัทฯ ยังคงดำเนินการด้วยความรับผิดชอบต่อลูกค้า และคำนึงถึงสมดุลของความยั่งยืนด้านพลังงานเป็นสำคัญ เพราะความต้องการพลังงานและความพร้อมของการเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดมีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศโดยได้นำเทคโนโลยี HELE หรือ High Efficiency, Low Emissions เข้ามาใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
ของโรงไฟฟ้าและทำให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ทั้งนี้ BPP ตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2568 จะมีกำลังผลิต 5,300 เมกะวัตต์ โดยเป็นกำลังผลิตจากพลังงานหมุนเวียนมากกว่า 800 เมกะวัตต์ และมีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ไม่เกิน 0.676 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อ
เมกะวัตต์-ชั่วโมง

ใส่ใจพนักงาน มุ่งพัฒนาชุมชน และตอบแทนสังคมด้วยใจ

ธุรกิจจะเติบโตอย่างยั่งยืนได้จะต้องเริ่มจากการดูแลพนักงานภายใน BPP จึงมุ่งเน้นการพัฒนาความสามารถและภาวะผู้นำของพนักงาน เพื่อตอบสนองต่อทักษะใหม่ที่จำเป็นและสอดรับกับทิศทางธุรกิจแห่งโลกอนาคต โดยมีการจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพรายบุคคล และวางแผนการสืบทอดตำแหน่งที่สำคัญเพื่อความต่อเนื่องในการบริหารงาน รวมถึงมีวัฒนธรรมองค์กรบ้านปู ฮาร์ท (Banpu Heart) ที่เชื่อมโยงและหลอมรวมพนักงานจากหลากหลายเชื้อชาติและต่างวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า

ตลอดจนการดำเนินโครงการด้านซีเอสอาร์เพื่อตอบแทนคืนสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง เช่น การมอบทุนสนับสนุนแก่นักเรียนในโรงเรียนเด็กพิเศษหลวนหนานบ้านปู ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ดูแลนักเรียนที่มีความผิดปกติทางร่างกาย เช่น พิการทางสายตา หู และสมอง มากว่า 13 ปี การสนับสนุนการฝึกซ้อมและการแข่งขันของนักกีฬาในศูนย์ฝึกเทเบิลเทนนิสแห่งชาติในเมืองเจิ้งติ้งมากว่า 17 ปี การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า การทำกิจกรรม เพื่อสังคมผ่านโครงการ CSR Ideas of the Year ในไทย หรือการเข้าร่วมในข้อตกลงการจ่ายไฟฉุกเฉิน เมื่อเกิดพิบัติภัยของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์นาริไอสึในญี่ปุ่น

อีกทั้ง ในช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 อยู่ในสภาวะวิกฤต BPP ยังได้ช่วยเหลือสังคมเชิงรุกในการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าและในประเทศที่บริษัทดำเนินธุรกิจ เช่น การมอบเงินและสิ่งของจำเป็นเพื่อสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐบาลในการต่อสู้กับโควิด-19 ของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมทั้ง 3 แห่งในจีน การสนับสนุนถุงยังชีพให้แก่สถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อแจกจ่ายให้กับคนไทยในญี่ปุ่นที่ได้รับความเดือดร้อนจากวิกฤตเศรษฐกิจโควิด-19 ฯลฯ

กำกับดูแลกิจการด้วยจริยธรรม และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในยุคโควิด-19

จริยธรรมทางธุรกิจและการต่อต้านการคอร์รัปชันทุกรูปแบบเป็นเรื่องพื้นฐานที่ BPP ให้ความสำคัญ การมีวัฒนธรรมองค์กร Banpu Heart ที่หนึ่งในหลักปฏิบัติ 10 ประการให้ความสำคัญกับการยึดมั่นในความถูกต้อง (Adhere to Integrity and Ethics) เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานทุกระดับจะขับเคลื่อนองค์กร ไปในทิศทางที่เหมาะสมบนพื้นฐานของจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ เมื่อเข้าสู่ยุควิกฤตโควิด-19

บริษัทฯ ก็ยังสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ด้วยความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง การเตรียมความพร้อม และการเลือกเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ เช่น การนำระบบ ISO 22301 (BCMS) มาใช้ก่อนเกิดเหตุการณ์ การกำหนดมาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ของแต่ละประเทศ หรือการเตรียมความพร้อมของระบบคลาวด์เพื่อรองรับการใช้งานโดยไม่จำเป็นต้องเข้าสำนักงาน

พร้อมให้พนักงานสามารถทำงานได้ทุกที่แบบ Work from Anywhere จากการเตรียมพร้อมและการป้องกันอย่างรัดกุมทำให้โรงไฟฟ้าทุกแห่งของ BPP สามารถคงประสิทธิภาพการผลิตได้อย่างต่อเนื่องตามแผน ด้วยไฟฟ้าเป็นสาธารณูปโภคที่จำเป็นต่อทุกภาคส่วน ความมั่นคง และต่อเนื่องในการเดินเครื่องจ่ายไฟเข้าระบบจึงเป็นความรับผิดชอบสำคัญของ BPP ในฐานะผู้ผลิต
และจำหน่ายไฟฟ้า