ผู้ชมทั้งหมด 491
บางจากฯ ร่วมทุนแหล่งปิโตรเลียม Brasse ในนอร์เวย์ คาดมีปริมาณปิโตรเลียมสำรองจำนวน 24 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ เล็งเริ่มผลิตช่วงครึ่งแรกปี 2570 ปริมาณสุทธิตามสัดส่วนระดับ 10,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน
นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (BCP)แจ้งต่อตลาดหลลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยระบุว่า บริษัทฯ ขอเรียนให้ทราบว่า OKEA ASA “OKEA” (บริษัทย่อยซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 45.58) ร่วมกับผู้ร่วมลงทุน ได้ตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย ( Final Investment Decision) ในการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม Brasse ซึ่งคาดว่ามีปริมาณปิโตรเลียมสำรองจำนวน 24 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ (MBOE)
โดยสัดส่วนของ OKEA เท่ากับร้อยละ 39.2788 % โครงการพัฒนาแหล่ง Brasse ตั้งอยู่ในทะเลนอร์เวย์ เป็นส่วนเชื่อมต่อและตั้งอยู่ในพื้นที่ทางตอนใต้ของแหล่งปิโตรเลียม Brage ซึ่ง OKEA เป็นผู้ดำเนินการอยู่เดิม (Operator) และ OKEA จะยังคงเป็น Operator ต่อในทั้ง 2 ใบอนุญาต
จากความคืบหน้าในครั้งนี้ ปริมาณปิโตรเลียมสำรอง (2P) ตามสัดส่วนของ OKEA เพิ่มขึ้นจากประมาณ 83 MBOE เป็นกว่า 92 MBOE โดยคาดการณ์จะเริ่มผลิตได้ช่วงครึ่งแรกของปี 2570 และปริมาณการผลิตจากแหล่งนี้สุทธิตามสัดส่วนจะได้ระดับ 10,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน (BOED) ภายในปีแรกของการผลิต
โดย OKEA จะส่งแผนการพัฒนาและดำเนินการ (Plan for Development and Operation: PDO) แก่หน่วยงานภาครัฐของประเทศนอร์เวย์ ในเดือนเมษายน 2567 และจะด าเนินการเปลี่ยนชื่อแหล่งปิโตรเลียม “Brasse” เป็น “Bestla” เมื่อได้รับอนุญาตอีกด้วย
ที่ผ่านมา OKEA ประสบความสำเร็จในการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมที่ OKEA เป็น Operator มาอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ OKEA เข้าพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม Hasselmus ที่เชื่อมต่อกับ Draugen ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจนสามารถเพิ่มปริมาณปิโตรเลียมสำรอง (2P) ตามสัดส่วนได้ 4.7 MBOE และสามารถผลิตเชิงพาณิชย์ได้เมื่อเดือนตุลาคม 2566 และเพิ่มกำลังการผลิตสุทธิตามสัดส่วนที่ 1,960 BOED โดยสามารถด าเนินการผลิตได้ก่อนกำหนดการและใช้งบลงทุนต่ำกว่าที่คาดการณ์ จนมาถึงครั้งนี้แหล่งปิโตรเลียม Brasse นี้ มีความคืบหน้าในการสำรวจและพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งนี้ OKEA มุ่งมั่นพัฒนาและต่อยอดการผลิตจากแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่ใกล้เคียงกับโครงสร้างพื้นฐานเดิม (Organic Growth) เพื่อความคุ้มค่าในเชิงต้นทุนการผลิต จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นของแหล่งปิโตรเลียม