World Bank ไฟเขียวเงินกู้ 2 โปรเจคยักษ์ สะพานข้ามทะเลสาบสงขลา -สะพานเชื่อมเกาะลันต

ผู้ชมทั้งหมด 398 

World Bank ไฟเขียวเงินกู้ 2 โปรเจคยักษ์ สะพานข้ามทะเลสาบสงขลา –สะพานเชื่อมเกาะลันตา คมนาคมเร่งชงเรื่องให้น่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนส่งครม.เคาะต้นปี 67 พร้อมอ้อนขอหนุนนักลงทุนทุ่มเงินสร้างแลนด์บริจด์

นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลังให้นางสุเดชนา โกช แบเนอจี ผู้อำนวยการด้านโครงสร้างพื้นฐานประจำเอเซียตะวันออกและภูมิภาคแปซิฟิกของธนาคารโลก (World Bank) เพื่อหารือเกี่ยวกับโครงการด้านการขนส่งที่ประเทศไทยให้ความสำคัญ และติดตามความคืบหน้าโครงการสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา และโครงการสะพานเชื่อมเกาะลันตา ซึ่งเป็นโครงการที่ World Bank ให้การสนับสนุนประเทศไทย โดยมี ผู้แทนกรมทางหลวงชนบท(ทช.) เข้าร่วมว่า กระทรวงคมนาคม โดยทช.ได้นำเสนอความคืบหน้าการดำเนินโครงการสะพานข้ามทะเลสาบสงขลาว่า ล่าสุด 5 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกรมประมง ได้ลงนาม MOU เมื่อวันที่ 27 .. 66 เพื่อแก้ไขปัญหาการใกล้สูญพันธุ์ของโลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลาแล้ว

เบื้องต้นได้มีการจัดทำแผนอนุรักษ์โลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลา ระยะ 5 ปี ระหว่างปี 2567 – 2571 ประกอบด้วย 6 แผนงาน ได้แก่ การลดภัยคุกคามที่เป็นอันตรายต่อโลมาอิรวดีและแหล่งที่อยู่อาศัย การฟื้นฟูความสมบูรณ์ของทะเลสาบสงขลาและการเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ การศึกษาวิจัยนิเวศวิทยาและชีววิทยาของโลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลา การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประชากรโลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลา การดำเนินงานอนุรักษ์โลมาอิรวดีและการเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนที่ยั่งยืน และการบริหารจัดการแผนอนุรักษ์โลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลาเพื่อปกป้องคุ้มครองโลมาอิรวดี และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติของทะเลสาบสงขลาอย่างยั่งยืน ซึ่งทาง World Bank ได้ชื่นชมประเทศไทยที่ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานควบคู่กับการปกป้องคุ้มครองโลมาอิรวดี และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติไปด้วย 

นางมนพร กล่าวอีกว่า ขณะนี้ ทางคณะกรรมการบริหาร (บอร์ดธนาคารโลก ได้เห็นชอบเงินกู้ให้กับทั้ง 2โครงการดังกล่าวแล้ว จากนี้กระทรวงคมนาคม จะทำเรื่องเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอทั้ง 2 โครงการให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในช่วงต้นปี 67 ก่อนเข้าสู่กระบวนการประมูลหาผู้รับจ้างตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ทางWorld Bank มีข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการที่เน้นความปลอดภัยบนท้องถนนเป็นหลัก และการนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นางมนพร กล่าวอีกว่า กระทรวงคมนาคมยังได้รายงานให้ World Bank ทราบว่า ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างทะเลอ่าวไทยอันดามัน (Land bridge) ของประเทศไทย ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 35.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจในภูมิภาค ลดระยะเวลาและความหนาแน่นของการจราจร ผ่านช่องแคบมะละกา โดยประเทศไทยอยู่ระหว่างการเดินสายโรดโชว์นำเสนอโครงการในประเทศต่าง เพื่อดึงดูดนักลงทุน ดังนั้นหากเป็นไปได้ขอให้ทาง World Bankให้การสนับสนุนนักลงทุนที่สนใจเข้ามาลงทุนโครงการนี้ เพื่อให้โครงการเกิดขึ้นโดยเร็ว 

สำหรับโครงการสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา –อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุงวงเงินก่อสร้าง 4,841 ล้านบาท เมื่อแล้วเสร็จจะช่วยลดระยะทางในการเดินทางจาก 80 กิโลเมตร เหลือ 7 กิโลเมตรและลดระยะเวลาในการเดินทางจาก 2 ชั่วโมง เหลือเพียง 15 นาที สามารถพัฒนาการขนส่งโลจิสติกส์และเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงทะเลอันดามัน – อ่าวไทย และเชื่อมโยง 3 จังหวัด คือ ตรัง พัทลุง และสงขลา ช่วยบรรเทาปริมาณการจราจรของถนนทางหลวงแผ่นดิน แก้ปัญหาการจราจรติดขัด และสามารถยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินทาง ในกรณีเกิดภัยพิบัติจะสามารถอพยพประชาชนในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว ระยะเวลาการก่อสร้าง 3 ปี(.. 2568 – 2570) 

ส่วนโครงการก่อสร้างสะพานข้ามเกาะลันตา ตำบลเกาะกลางตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่วงเงินก่อสร้าง 1,854 ล้านบาท เมื่อล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง ลดระยะเวลาการเดินทาง ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินทาง ในกรณีเกิดภัยพิบัติสามารถอพยพประชาชนในพื้นที่ได้รวดเร็ว รวมทั้งสนับสนุนและอำนวยความสะดวกด้านพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การบริการ และการท่องเที่ยวระหว่างเกาะลันตาและแผ่นดินใหญ่ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและการบริการโลจิสติกส์ในพื้นที่ โดยก่อสร้างสะพานแห่งใหม่ข้ามคลองช่องลาด เพื่อเชื่อมต่อเกาะลันตากับแผ่นดินใหญ่ ความยาวประมาณ 2,200 เมตร ปัจจุบันคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้เห็นชอบรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมฉบับสมบูรณ์แล้ว และออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ ระยะเวลาการก่อสร้าง 3 ปี (.. 2568 – 2570)