ผู้ชมทั้งหมด 1,597
“CEO ปตท.” ยันผู้ถือหุ้นฯ คาดผลดำเนินงานปี 2566 ดีขึ้นกว่าปี 2565 ตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว หนุนธุรกิจของ OR ราคาน้ำมันดิบยังอยู่ในระดับสูงส่งผลดีต่อ ปตท.สผ. ขณะที่ราคาก๊าซฯ ลดลง ส่งผลดีต่อธุรกิจไฟฟ้า ด้านธุรกิจปิโตรเคมีและโรงกลั่น แม้ค่าการกลั่นลดลงแต่ปริมาณการผลิตเพิ่ม ขณะที่ ผู้ถือหุ้น ปตท. ไฟเขียวจ่ายงานปันผลงวดครึ่งหลังปี 2565 อัตราหุ้นละ 0.70 บาท กำหนดจ่าย 28 เม.ย.นี้
นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือPTT เปิดเผยในที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจําปี2566 เมื่อวันพุธที่ 12 เมษายน 2566 เวลา 13.30 น. ในรูปแบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์(e-Meeting) โดยระบุว่า แนวโน้มผลการดำเนินของ ปตท.ในปี 2566 คาดว่า จะเติบโตขึ้นจากปี 2565 โดยหากพิจารณาตามรายธุรกิจพบว่า ธุรกิจขุดเจาะและสำรวจปิโตรเลียม ของ ปตท.สผ.ชัดเจนว่า ผลการดำเนินงานจะสะท้อนตามทิศทางราคาน้ำมัน ซึ่งในปีนี้ ราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง จากภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยังไม่สิ้นสุดลง และเมื่อเร็วๆนี้ กลุ่มโอเปกพลัส ได้ปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันลงทำให้ราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับสูง อีกทั้ง ปตท.สผ.มีแนวโน้มที่จะเพิ่มกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติได้มากขึ้น หลังจากสามารถเข้าพื้นที่แหล่งเอราวัณ(G1) ได้ ทำให้คาดว่ากลางปีนี้ จะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากปัจจุบันอยู่ที่ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และสิ้นปีนี้ จะเพิ่มเป็น 600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ก็มีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากปีที่ผ่านมาราคาก๊าซฯในตลาดโลกปรับสูงขึ้น ทำให้ต้องนำเข้าLNG ในราคาแพงเข้ามาเฉลี่ยกับก๊าซฯที่ผลิตได้ในประเทศส่งผลให้ราคา Pool GSA มีต้นทุนสูงขึ้น แต่ปีนี้ คาดว่ากำลังการผลิตก๊าซฯในประเทศจะเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคา LNG ถูกลงจากปีก่อน ฉะนั้นจะส่งผลให้ราคา Pool GSA ลดลงได้
ธุรกิจปิโตรเคมี คาดว่า ส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์(สเปรด) จะใกล้เคียงกับปีก่อน ขณะเดียวกันมีการปิดซ่อมบำรุงโรงงานในเครือ ปตท.พร้อมกันหลายแห่ง แต่ปีนี้จะเดินเครื่องการผลิตได้มากขึ้น คาดว่าจะส่งผลดีต่อปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น
ธุรกิจโรงกลั่น คาดว่า ค่าการกลั่นปีนี้จะอ่อนตัวลงจากปีก่อน แต่คาดว่าในส่วนของต้นทุนจะถูกลง เนื่องจากปีก่อนการสั่งซื้อน้ำมันจะมีค่าพรีเมียมที่แพงขึ้น แต่ปีนี้ค่าพรีเมียมมีแนวโน้มปรับลดลง ขณะที่ปริมาณการผลิตก็เพิ่มขึ้น
ธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีก ของ OR คาดว่าจะเติบโตขึ้นจากปีก่อน ตามทิศทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว และธุรกิจไฟฟ้า ก็มีแนวโน้มดีขึ้น จากต้นทุนราคา Pool GSA ที่ปรับลดลง
อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ ปตท.ได้ปรับนโยบายบริหารความเสี่ยงเรื่องความผันผนราคาน้ำมัน ด้วยการทำประกันความเสี่ยงด้านราคา (เฮดจิ้น) โดยจะดำเนินการให้ระมัดระวัง และติดตามอย่างใกล้ชิดมากขึ้น และลดการทำเฮดจิ้นในลักษณะระยะยาวเกินไป พร้อมจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อมาติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อลดความเสี่ยงรุนแรงจากการทำเฮดจิ้น ซึ่งโดยปกติแล้ว ปตท.มีนโยบายบริหารความเสี่ยงเรื่องความผันผนราคาน้ำมัน ด้วยการทำเฮดจิ้นในสัดส่วนไม่เกิน 50% ของปริมาณทั้งหมด
นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ อนุมัติจัดสรรเงินกําไรสุทธิประจําปี2565 และการจ่ายเงินปันผล โดยจากผลประกอบการและฐานะการเงินโดยรวม ปตท. มีกําไรสุทธิประจําปี2565 จํานวน 91,175 ล้านบาท โดยได้จัดสรรกําไรสุทธิเป็นสํารองเพื่อกองทุนประกันวินาศภัย จํานวน 21 ล้านบาท และ ปตท. พิจารณาเสนอจ่ายเงินปันผลสําหรับผลประกอบการปี 2565 ให้กับผู้ถือหุ้นในอัตรา 2.00 บาทต่อหุ้น คิดเป็น 63% ของกําไรสุทธิ ซึ่งเป็ นไปตามนโยบายการจ่ายเงินปันผลของ ปตท.ที่ไม่ตํ่ากว่า 25% ของกําไรสุทธิหลังจากหักสํารองต่าง ๆ
โดยคณะกรรมการฯ เห็นสมควรเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติการจัดสรรกําไรสุทธิ และ การจ่ายเงินปันผลสําหรับผลประกอบการปี 2565 ในอัตราหุ้นละ 2.00 บาท จํานวน 28,562,996,250 หุ้น รวมเป็ นจํานวน 57,126 ล้านบาท ซึ่งเมื่อหักเงินปันผลระหว่างกาล สําหรับผลประกอบการครึ่งแรกของปี 2565 ในอัตราหุ้นละ 1.30 บาท ซึ่งคิดเป็นจํานวน เงิน 37,132 ล้านบาท ที่ได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลดังกล่าวให้กับผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ -5- 12 ตุลาคม 2565 แล้ว (เงินปันผลระหว่างกาลดังกล่าวจ่ายจากกําไรสะสมที่ยังไม่ได้ จัดสรรในส่วนของกําไรสุทธิที่ผ่านการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ20 ซึ่งผู้ถือหุ้นประเภทบุคคลธรรมดาได้รับสิทธิเครดิตภาษีเงินปันผลตามมาตรา47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และกําไรจากเงินปันผลจากบริษัท ปตท. สํารวจและผลิต ปิ โตรเลียม จํากัด (มหาชน) (ปตท. สผ.) ที่ผ่านการเสียภาษีเงินได้ปิ โตรเลียมในอัตรา 50% ผู้ถือหุ้นจะไม่ได้รับสิทธิเครดิตภาษีเงินปันผล) และมีเงินปันผลที่จะจ่าย
และสําหรับผลประกอบการครึ่งหลังของปี2565 อีกในอัตราหุ้นละ 0.70 บาท คิดเป็น จํานวนเงิน 19,994 ล้านบาท โดยเงินปันผลสําหรับผลประกอบการครึ่งหลังของปี 2565 จะจ่ายจากกําไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรรในส่วนของกําไรสุทธิที่ผ่านการเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 20% ซึ่งผู้ถือหุ้นบุคคลธรรมดาได้รับสิทธิเครดิต ภาษีในการคํานวณภาษีเงินปันผลตามมาตรา 47 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร ในอัตรา หุ้นละ0.45 บาท และกําไรจากเงินปันผลจากบริษัท ปตท.สํารวจและผลิตปิ โตรเลียม จํากัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) ที่ผ่านการเสียภาษีเงินได้ปิ โตรเลียมในอัตรา 50% ซึ่งผู้ถือหุ้นบุคคลธรรมดาไม่ได้รับสิทธิเครดิตภาษีในการคํานวณภาษีเงินปันผลตาม มาตรา 47 ทวิแห่งประมวลรัษฎากรในอัตราหุ้นละ 0.25 บาท โดยคณะกรรมการ ปตท. ได้มีมติกําหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผล (Record Date) ในวันที่ 3 มีนาคม 2566 และกําหนดจ่ายเงินปันผลสําหรับผลประกอบการครึ่งหลังของ ปี2565 ในวันที่ 28 เมษายน 2566
“ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ปตท.จากเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นเฉลี่ย อยู่ที่ 64%ของกำไรสุทธิ ซึ่งสูงกว่านโยบายที่กำหนดไว้ 25%ของกำไรสุทธิ”
รวมถึง ที่ประชุมฯ ยังรับทราบรายงานผลการดําเนินงานในรอบปี2565 และแผนงานในอนาคต รวมทั้งพิจารณาอนุมัติงบการเงินประจําปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ซึ่งผ่านการ ตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีแล้ว โดยผลการดำเนินงานของ ปตท. และบริษัทย่อยที่มีกำไรสุทธิในปี 2565 จำนวน 91,175 ล้านบาท (คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิที่ 3.6%) ลดลงจำนวน 17,188 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.9 จากปีก่อน แม้ว่ากำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้ (EBITDA) เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน กลุ่ม ปตท. นำส่งรายได้เข้ารัฐรวมจำนวน 86,395 ล้านบาท ซึ่งรวม เงินปันผล ภาษีเงินได้นิติบุคคลของ ปตท. และภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทในเครือ
นายอรรถพล กล่าวเพิ่มเติม ถึงกรณีที่ผู้ถือหุ้นฯ สอบถามการนำเงิน 3,000 ล้านบาท ไปอุดหนุนกองทุนน้ำมันฯ และ นำเงินอีก 6,000 ล้านบาท ไปอุดหนุนอัตราค่าไฟฟ้าว่า ปตท.มสถานะเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติ และเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ฉะนั้นในทางธุรกิจ ก็ต้องมุ่งมั่นมีผลประกอบการที่ดี ขณะเดียวกันก็ต้องดูแลผู้มีส่วนได้เสีย ควบคู่กับการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน ซึ่งในปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าเกิดวิกฤตราคาพลังงานรุนแรงจนส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ปตท.จึงได้จัดสรรงบประมาณผ่านกองทุนน้ำมันฯ เป็นวงเงิน 3,000 ล้านบาท เพื่อดูแลประชาชน เพราะถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าของปตท. ขณะเดียวกัน ปตท.ได้อุดหนุนงบประมาณในอัตราที่เหมาะสม และอยู่ภายใต้กฎกติกาอย่างเคร่งครัด
ส่วนกรณีค่าไฟฟ้า แม้ว่าจะมีมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ที่ขอให้ ปตท.บริจาคเงิน 6,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือค่าไฟฟ้า แต่ ปตท.ได้หารือกับภาครัฐ โดยใช้วิธีการนำส่วนต่างก๊าซฯในส่วนที่เรียกว่า Bypass Gas คือ ปริมาณก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย รวมถึงก๊าซฯจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (JDA) ที่ขนส่งผ่านระบบท่อก๊าซฯในทะเลมายังระบบขนส่งก๊าซฯบนบกที่ระยอง โดยไม่ผ่านกระบวนการแยกก๊าซของโรงแยกก๊าซฯที่จ.ระยอง มาใช้ป้อนผลิตไฟฟ้ามากขึ้น เพื่อลดการนำเข้า LNG ทำให้ในส่วนนี้ ปตท.ไม่ได้จ่ายเป็นเม็ดเงิน 6,000 ล้านบาท ให้กับภาครัฐแต่อย่างใด