ปตท.หนุนเมกะเทรนด์ลดปล่อยคาร์บอน ชูวิสัยทัศน์ “Future Energy” เร่งปั้นธุรกิจ EV

ผู้ชมทั้งหมด 974 

การขับเคลื่อนพลังงานของโลกวินาทีนี้ ใครไม่รู้จัก “Net Zero” หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ต้องบอกว่า “เชย” เพราะ Net Zero กลายเป็นเป้าหมายระดับชาติ หรือ เมกะเทรนด์ของโลกไปแล้ว โดยที่ผ่านมาจะเห็นประเทศมหาอำนาจต่างออกมาประกาศเป้าหมายลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ Carbon Neutrality” เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ ยุโรป และญี่ปุ่น ที่จะดำเนินการภายในปี ค.ศ.2050 และจีน จะดำเนินการภายในปี 2560 ขณะที่รัฐบาลไทย ก็ประกาศเป้าหมาย Carbon Neutrality ภายในปี ค.ศ. 2065 – 2070 หรือปี พ.ศ. 2608-2613 เพื่อร่วมมือกันลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เมื่อ “Net Zero” และ “Carbon Neutrality” กลายเป็น “เมกะเทรนด์ของโลก” บริษัทพลังงานยักษ์ระดับประเทศของไทย คือ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) หรือ PTT จึงเร่งยกระดับการพัฒนาธุรกิจตามกรอบวิสัยทัศน์  “Powering Life with Future Energy and Beyond ขับเคลื่อนทุกชีวิต ด้วยพลังแห่งอนาคต” ที่มุ่งสู่ธุรกิจพลังงานอนาคต และการเติบโตในธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน เพื่อสร้างสรรค์พลังงานที่มุ่งเน้นพลังงานสะอาด และการสร้างธุรกิจใหม่ที่สร้างคุณค่าและสนับสนุนการขับเคลื่อน ให้ประเทศเติบโตอย่างยั่งยืน

อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ระบุว่า กลุ่ม ปตท.ตั้งเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินธุรกิจของทั้งในประเทศและต่างประเทศ ลดลง 15% ภายใน 10 ปี หรือปี 2563 – 2573 โดยได้จัดตั้งคณะทำงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ กลุ่ม ปตท. (PTT Group Net Zero Task Force หรือ G-NET) เพื่อวางเป้าหมายบรรลุ Net Zero ของ ปตท. และร่วมขับเคลื่อนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

ภายใต้เป้าหมายดังกล่าว ปตท.จะมุ่งเน้นขับเคลื่อนการทำงาน 3 ด้านหลัก (3P’s Decarbonization Pathways) ได้แก่

  • Pursuit of Lower Emission หรือ การดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุด เชื่อมโยง กับเป้าหมาย Clean growth โดยโครงการที่สำคัญในการบริหารจัดการ ได้แก่ การดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ประโยชน์ การใช้พลังงานหมุนเวียนและ พลังงานไฮโดรเจน การดำเนินโครงการประหยัดและอนุรักษ์พลังงาน และการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยคาร์บอนเครดิต
  • Portfolio Transformation สร้างการเติบโตจากธุรกิจพลังงาน แห่งอนาคต (Future Energy and Beyond) โดยตั้งเป้าใน 10 ปีข้างหน้า ให้มีสัดส่วนการลงทุน 30% และในปี 2573 จะต้องพัฒนาธุรกิจไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนด้วยกำลังการผลิตจากพลังงานทดแทนที่ 12 GW พร้อมทั้งส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ รวมไปถึงการปรับลดการลงทุนในธุรกิจถ่านหิน
  • Partnership with Nature การเพิ่มปริมาณการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากชั้นบรรยากาศ และกักเก็บก๊าซเรือนกระจกด้วยวิธีทางธรรมชาติ ผ่านการปลูกและ ดูแลรักษาป่าไม้และพื้นที่สีเขียว โดยกำหนดเป้าหมายการปลูกป่าบก และป่าชายเลนเพิ่มอีก 1 ล้านไร่ ภายในปี 2573 พร้อมวางแผนในการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง

ดังนี้ แผนลงทุน 5 ปีของ ปตท.ตามวิสัยทัศน์ใหม่ ในส่วนของ “Future Energy” ที่จะมุ่งสู่ธุรกิจพลังงานหมุนเวียนและยานยนต์ไฟฟ้า นับว่ามีความสำคัญอย่างมากที่จะผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย “Net Zero”

ปตท. ประเมินว่า ธุรกิจน้ำมันและก๊าซเป็นธุรกิจหลักที่มีแนวโน้มที่จะถูกทดแทนด้วยธุรกิจพลังงานทดแทนประเภทอื่น โดยจากข้อมูล Global oil demand forecast จาก BP ได้คาดการว่า จุดอุปสงค์น้ำมันสูงสุด (Peak Oil) จะมีแนวโน้มขยับเข้ามาเกิดเร็วขึ้น จากเดิมที่คาดการไว้ในปี พ.ศ. 2578 เป็นเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2568 และหลังจากนั้นความต้องการใช้น้ำมันจะปรับตัวลดลงแรงขึ้นมากกว่าเดิมอีกด้วย จากความกดดันของ นโยบายทางด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก หรือ Net Zero Emission Policy ทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากการใช้พลังงานฟอสซิลโดยเฉพาะน้ำมันมาเป็นพลังงานไฟฟ้าจากแหล่ง พลังงานหมุนเวียน ซึ่งมีการคาดว่าแนวโน้มความต้องกำรไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายใน 30 ปีนี้ แต่อย่างไรก็ตามในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านนี้โลกจะมีความต้องการใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเป็นแหล่งพลังงานที่มีต้นทุนต่ำ และปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ

ทั้งนี้ ในภาพนโยบายของประเทศไทย ยังได้มีการกาหนดแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าที่ ปลดปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (Zero Emission Vehicle : ZEV) ของประเทศตามนโยบาย 30/30 ที่จะมีแผน กำลังการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ZEV อย่ำงน้อย 30% ของปริมาณการผลิตทั้งหมดในปีพ.ศ. 2573 เพิ่มเติมด้วย ซึ่งคิดเป็นการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์นั่งและรถกระบะทั้งสิ้น 725,000 คัน ประเภท รถจักรยานยนต์จะมีการผลิตทั้งสิ้น 675,000 คัน และประเภทรถบัส/รถบรรทุกจะมีการผลิตทั้งสิ้น 34,000 คัน ทั้งนี้นโยบายดังกล่าวจะเป็นตัวเร่ง สำคัญที่ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันภายในประเทศลดลงอย่างมากในภาคการคมนาคมขนส่ง ถึงแม้ว่าการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนจะเข้ามำทดแทนการใช้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ จะทำให้ความต้องการเชื้อเพลิงจากฟอสซิลชะลอตัวลง ซึ่งถือเป็นความท้าทายสำคัญต่อบริษัทน้ำมันอย่า ปตท.

ขณะเดียวกัน ภายใต้ความท้าทายดังกล่าวทำให้ ปตท. เล็งเห็นโอกาสที่จะขยายการลงทุนไปในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับพลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทน โดยได้มีการลงทุนและปรับตัวเพื่อรองรับกับประเด็นท้าทายเหล่านี้ เช่น การวางแผนการขยายธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Value Chain

โดยมีธุรกิจที่เป็น 1 st priorities 7 ด้าน ดังนี้

1. การผลิตเซลล์แบตเตอรี่ (Battery Cell Manufacturing)

2. รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า (E-bike)

3. รถยนต์ไฟฟ้า (E-car)

4. รถโดยสารไฟฟ้า (E-bus)

5. บริการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery Swap)

6. เครือข่ายบริการประจุไฟฟ้ำ (Charging Network)

7. แพลตฟอร์มบริการเช่ายืมรถยนต์ (Car sharing, Ride sharing, Financing, Insurance)

ปัจจุบัน ปตท.ได้ดำเนินธุรกิจ EV Value Chain ในเชิงพาณิชย์ ได้แก่ จัดตั้ง บริษัท อรุณ พลัส จำกัด (ARUN PLUS) เดินหน้าธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร (EV Value Chain) โดยร่วมมือกับฟ็อกซ์คอนน์ (Foxconn) ตั้ง บริษัท ฮอริษอน พลัส จำกัด (HORIZON PLUS) บริษัทร่วมทุนเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายตลาดและสร้างฐานการผลิต EV ในไทย

“ปตท.คาดว่า ในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ ภายใต้ความร่วมมือกับฟ็อกซ์คอนน์ จะสามารถตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย(FID) เพื่อเดินหน้าก่อสร้างโรงงานพัฒนาแพลตฟอร์มผลิตรถEV ได้ และเริ่มการผลิตในปีไตรมาส1ปี67 กำลังผลิตเฟสแรก 50,000 คัน และผลิตเฟส 2 อีก 150,000 คันต่อปีในปี73 ส่วนลูกค้าที่จะเข้ามาใช้บริการขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาร่วมกันซึ่งมีอยู่หลายรายที่สนใจ” อรรถพล กล่าว

อีกทั้ง  อรุณ พลัส ยังได้จำหน่ายและติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ ออน-ไอออน (on-ion) และ เตรียมขยายสถานีบริการอัดประจุบนทำเลศักยภาพอีกกว่า 1,000 เครื่อง ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ภายในปี 2565 รองรับการเติบโตของตลาด EV ในประเทศ ตลอดจนร่วมขับเคลื่อนและสนับสนุนให้คนไทยใช้พลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีบริการติดตั้ง PTT EV Charger ในที่พักอาศัย

พร้อมจัดตั้ง “สวอพ แอนด์ โก” (Swap & Go) ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม โครงสร้างพื้นฐาน และเครือข่าย Battery Swapping หรือการสลับแบตเตอรี่แก่ผู้ใช้งานรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เพื่อรองรับการขยายตัวของผู้ใช้งาน โดยนำร่องในกลุ่มธุรกิจบริการรับ-ส่งอาหารหรือสิ่งของ (Delivery Service) เป็นต้นแบบนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านพลังงานที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยให้เปลี่ยนผ่านสู่สังคมยานยนต์ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น ล่าสุดเปิดให้บริการสถานีสลับแบตเตอรี่แล้ว 22 แห่ง ทั่วกรุงเทพฯ

รวมถึง ปตท. ได้จัดตั้งบริษัท นูออโว พลัส จำกัด (NUOVO PLUS) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง ARUN PLUS และ GPSC ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ G-Box for Residential ระบบกักเก็บพลังงานสำหรับที่พักอาศัย ภายใต้แบรนด์ G-Cell โดยสามารถนำมาใช้ร่วมกับระบบ Solar Cell เป็นการกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ในตอนกลางวันไว้ในแบตเตอรี่และนำมาชาร์จรถไฟฟ้าในตอนกลางคืน โดยผู้ใช้งานสามารถควบคุม สั่งการการทำงานต่าง ๆ ผ่านระบบสมาร์ทโฟนได้อีกด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าในที่พักอาศัยอย่างสมบูรณ์แบบ ขระเดียวกัน  GPSC ยังมีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ต้นแบบ 30 MWh มาพัฒนาและทดลองใช้ภายในกลุ่ม PTT นอกจากนี้ GPSC ยังได้เข้าถือหุ้น 11.1% ในบริษัท AXXIVA ประเทศจีน ซึ่งกำลังก่อสร้างโรงงานแบตเตอรี่ 1.0 พัน MWh เพื่อนำมาใช้สำหรับลูกค้ายานยนต์ไฟฟ้าในประเทศจีน คาด COD ได้ภายในปี 2566

นอกจากนี้ ได้จัดตั้งบริษัท อีวี มี พลัส จำกัด (EVME PLUS) แพลตฟอร์มที่ให้ผู้ใช้ได้ประสบการณ์การเป็นเจ้าของ EV แบบครบวงจร ให้บริการในรูปแบบ Subscription รายแรก และรายเดียวในประเทศไทยผ่านแอปพลิเคชัน ที่จะทำให้การใช้งาน EV เป็นเรื่องง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้บริการรถ EV จากแบรนด์ชั้นนำที่มีให้เลือกหลากหลายรุ่น เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน เลือกรุ่นรถ และกดจอง เพียงเท่านี้ก็สามารถรอรับรถได้ที่หน้าบ้าน พร้อมรับสิทธิพิเศษภายในงาน สำหรับผู้ซื้อ E-voucher ผ่านแอปพลิเคชัน EVme รับคูปองส่วนลดเพิ่มเติม และ NFT exclusive เฉพาะลูกค้า EVme เท่านั้น

ตลอดจนจัดตั้ง บริษัท รีแอค จำกัด (ReAcc) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มรองรับการซื้อขายใบรับรองพลังงานหมุนเวียน  ช่วยสนับสนุนให้เกิดการผลิตและการใช้งานพลังงานหมุนเวียนมากขึ้นในประเทศ

อนาคตอันใกล้นี้ ภาพธุรกิจของ ปตท.จะเปลี่ยนไป จากเดิมที่มีบทบาทหลักในการจัดหาและจำหน่ายเชื้อเพลิงเพื่อความมั่นคงของประเทศทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แต่จะหันตัวเข้าสู่การดำเนินธุรกิจใหม่ๆมากขึ้น โดยเฉพาะพลังงานสะอาด อย่างผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร เป็นต้น