ผู้ชมทั้งหมด 2,412
“เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโต ร่วมกัน” หรือ “Empowering All Toward Inclusive Growth” เป็นวิสัยทัศน์ใหม่ในการขับเคลื่อนธุรกิจของ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านเทคโนโลยี โครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจ ด้านภูมิอากาศ จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีในการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่ให้ความสำคัญต่อสุขอนามัยและความปลอดภัย การใช้พลังงานสะอาด และปัญหาสังคมอย่างเรื่องความเหลื่อมล้ำ
ด้วยวิสัยทัศน์ดังกล่าว OR ได้จัดตั้ง โครงการ Orion (โอไรออน) ที่เปรียบเสมือนหน่วยม้าเร็วที่จะผลักดันให้การขับเคลื่อนธุรกิจบรรลุเป้าหมาย ภายใต้การดูแลของ ราชสุดา รังสิยากูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการ โครงการ Orion (โอไรออน)
ราชสุดา เล่าว่า ภารกิจของ Orion คือ การทำหน้าที่ตามล่าหา new-s-curve ให้กับ OR ซึ่งไม่ได้มุ่งเน้นการลงทุนในลักษณะของ Venture Capital หรือ สตาร์ทอัพอย่างเดียว แต่จะอยู่ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ “Empowering All Toward Inclusive Growth” ที่เป็นการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน และสอดคล้องกับพันธกิจทั้ง 4 ด้าน 3.การขยายฐานธุรกิจเพื่อสร้างความสำเร็จและการยอมรับในตลาดโลก (Global Market) และ4.การแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อยกระดับสู่นวัตกรรมในแบบฉบับของ OR (OR Innovation)
โดยสายงานที่อยู่ภายใต้การดูแลของ ORion ถูกจัดวางโครงสร้างงานออกเป็น 7 ส่วนสำคัญ ได้แก่
1.Mobility การสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจพลังงานแบบผสมผสานเพื่อการเคลื่อนที่อย่างไร้รอยต่อ (Seamless Mobility) ซึ่งปัจจุบัน OR อยู่ในธุรกิจค้าขายน้ำมันเป็นหลัก แต่ต่อไปจะเป็น mobility eco system ดังนั้นอะไรก็ตาม ที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อน ที่ไม่ใช่แค่น้ำมัน แต่อาจจะเป็นพลังงานในรูปแบบอื่นๆ เช่น ไฟฟ้า ไฮโดรเจน เป็นต้น หรืออะไรที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนในสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสิ่งของ ก็ถือเป็นภารกิจที่ จะต้องเข้าไปดูเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนทุกอย่าง โดยที่จะค่อยๆเปลี่ยนจากความเป็น oil eco system ไปหาความเป็น mobility eco system แบบไร้รอยต่อ
โดยจะมุ่นเน้นไปที่การพัฒนาธุรกิจแพลตฟอร์มซ่อมบารุงยานยนต์เชื่อมต่อธุรกิจออฟไลน์และออนไลน์ (O2O Maintenance Platform) ธุรกิจผู้แทนจำหน่ายและซ่อมบำรุงยานยนต์(Dealership & Authorized Workshop for OEM) และธุรกิจให้บริการการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (MultimodalServices)
2.Tourism จะเน้นพัฒนาธุรกิจแพลตฟอร์มที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว(Tourism-related Platform) และสินทรัพย์ที่เชื่อมต่อธุรกิจออฟไลน์และออนไลน์อย่างไร้รอยต่อ (Physical Assets for Seamless O2O) โดยจะเจาะไปที่ชุมชนในท้องถิ่นต่างๆ ที่มีของดี วิวสวย แต่อาจจะไม่มีประสบการณ์ในการ ทำทัวร์ ก็จะเข้าไปหากลไกพัฒนาให้เกิดขึ้นได้จริงและอยู่ได้ด้วยตนเอง โดยที่ OR จะมีระบบสนับสนุน เช่น การสร้างคอนเทนต์ แพลตฟอร์มขึ้นมาเชื่อมโยงคนท่องเที่ยวกับชุมชน
3. Food & Beverage (F&B) เน้นพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิตอลที่เพิ่มศักยภาพการดำเนินการธุรกิจร้านอาหาร (Restaurant Enabler) และแพลตฟอร์มดิจิตอลบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอาหาร (Supply Chain Enabler) ปัจจุบัน จะเห็นว่าในพอร์ตธุรกิจของ OR จะมี F&B จำนวนมาก หลักๆ คือ คาเฟ่อเมซอน, เท็กซัส ชิคเก้น, ติ่มซำ, โอ้กะจู๋, โคเอ็น ซูชิ บาร์ แต่เป้าหมายคือ จะเป็นไลฟ์สไตล์ หรือ โซลูชั่นครบวงจรสำหรับทุกไลฟ์สไตล์ (one-stop solution for all Lifestyle) ไม่ว่าผู้บริโภคจะมีไลฟ์สไตล์แบบไหน OR จะต้องเข้าทำให้เกิดประสบการณ์แบบครบวงจร( one stop experience) ซึ่งจะไม่ได้อยู่แค่ physical platform แต่ OR กำลังสร้าง Digital platform พร้อมกับเชื่อมโยง physical platform กับ digital platform เข้าด้วยกัน ตามโมเดล O2O (Offline to Online) โดยจะเชื่อมต่อใน 4 เรื่องหลัก คือ อาหารและเครื่องดื่ม(Food and Beverage : F&B ) ไปสู่ วิถีชีวิต(Lifestyle) , การท่องเที่ยว(tourism) และ สุขภาพและความกินดีอยู่ดี (health and wellness)
“อย่างเรื่องของ F&B ไม่ใช่แค่การมองหาแบรนด์ใหม่ๆเข้ามา แต่จะดูไปถึงต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำของแตะละธุรกิจ ว่ามีส่วนไหนที่ OR สามารถเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ เช่น ต้นน้ำก็เรื่องการจัดหาวัตถุดิบ แหล่งที่มา ราคา เป็นต้น ซึ่งจะสร้างมูลค่าเพิ่มและเกิดการลดต้นทุน กลางน้ำเราก็มีร้านอาหารแล้ว แต่สิ่งที่เพิ่มประสิทธิภาพได้คืออะไร ก็เช่นระบบการจองร้านอาหาร โปรโมชั่นดึงดูดลูกค้านอกเวลาพีค หรือ สิ่งของเหลือที่เกิดจากการบริโภคจะเอาไปใช้ประโยชน์อย่างไรเพื่อลด food waste เช่น ผักที่ใช้ตกแต่ง หรือส่วนที่นำไปใช้ไม่ได้ จะสามารถนำไปเป็นปุ๋ยได้หรือไม่ ก็จะทำให้สิ่งที่ซื้อมาเกิดการใช้ประโยชน์ ตอบโจทย์การบริหารต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ และสิ่งแวดล้อม โดยเป็นการมองทั้งระบบนิเวศน์ของธุรกิจอาหาร”
4. Health & Wellness เน้นพัฒนาธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิตอลที่ให้บริการในธุรกิจด้านสุขภาพ (Digital HealthcareSolution) ธุรกิจด้าน Wellness และการเชื่อมต่อการให้บริการผ่านรูปแบบ OmniChannel (O2O Integration) ที่จะเข้ามาทำให้ชีวิตของผู้คนดีขึ้น เข้าถึงบริการทางด้านสาธารณสุขได้สะดวก เพราะสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น บางแห่ง ก็ต้องอยู่ในพื้นที่ห่างไกล หากมีการจัดตั้งหาสถานบริการด้านสาธารณสุข ก็จะช่วยลดการเดินทาง ซึ่งก็ต้องมองหาพันธมิตรเข้ามาร่วมลงทุน และจะต้องศึกษาเรื่องของกฎหมายให้เกิดความชัดเจน และเอื้อต่อการจัดทำธุรกิจ
5. Empowering SMEs เน้นพัฒนาธุรกิจที่แก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs Retail Solution) พัฒนาเครื่องมือสำหรับตลาดแรง (Marketplace for Freelancer) และการนำเครื่องมือมาใช้ยกระดับการขายออนไลน์ (E-Commerce Enabler)
6. All In One App เชื่อมต่อการขายสินค้าและบริการจากออฟไลน์ไปสู่ออนไลน์ภายใต้ธุรกิจ Mobility และ Lifestyle ครอบคลุมระบบนิเวศ (Ecosystem) ของ OR แอพพลิเคชั่นนี้ จะทำให้คนใช้ชีวิตได้สนุกมากขึ้น ทั้งการหาข้อมูล ความสวยความงาม ท่องเที่ยว ร้านอาหาร การจอง การจำหน่ายสินค้าและบริการ คาดว่า ช่วงปลายปีนี้ จะสามารถเปิดตัวแอพพลิเคชั่นได้ ซึ่งจะเป็นการทยอยเปิดให้บริการในบางส่วนธุรกิจ
สำหรับ All In One App จะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 (ช่วงเริ่มต้นเปิดตัวแอพพลิเคชั่นปลายปี 2565 ประมาณ พ.ย.-ธ.ค.) เน้นเรื่อง Digital Wallet คาดว่า จะมีผู้ใช้บริการ ประมาณ 5 แสนคน และมีจำนวนร้านค้าใช้บริการ ประมาณ 1 หมื่นร้านค้า
ระยะที่ 2 ช่วงปี 2566 จะเป็นเรื่องของการจองล่วงหน้า และคาดหวังว่าจะเพิ่มการใช้บริการมากขึ้น ควบคู่กับการหาสมาชิกเข้ามาใช้บริการมากขึ้น หรือ เป็นหลักล้านคน และร้านค้าก็จะต้องมีจำนวนเพิ่มขึ้นด้วย
ระยะที่ 3 ช่วงปี 2567-2568 จะเน้นเรื่องการซ่อมรถ ที่จะไปเชื่อมโยงการใช้บริการของศูนย์บริการรถยนต์ FIT Auto มากขึ้น
ระยะที่ 4 ช่วงปี2569-2570 จะก้าวสู่การเป็น E-Commerce เต็มตัว โดยการลงทุนทั้ง 4 ระยะดังกล่าว จะอยู่ภายใต้งบประมาณช่วง 5 ปี(2565-2569) ของ OR ที่มีวงเงินราว 93,000 ล้านบาท ซึ่งคาดหวังให้ร้านค้าที่อยู่ใน พีทีที สเตชั่น มีรายได้เติบโตขึ้น และทำให้ OR สามารถสร้างฐานการเติบโตบนโลกออนไลน์ และผู้บริโภคก็ต้องมีความสุขได้รับบริการที่หาที่อื่นไม่ได้ ทั้งในอนาคตแอพพลิเคชั่นนี้ ยังเปิดกว้างการเชื่อมโยงกับพันธมิตรอื่นๆบนโลกออนไลน์ที่หลากหลายบริการมากขึ้น เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้บริโภค
7. Venture Capital สนับสนุนงานการลงทุนในสตาร์ทอัพและกองทุนทั้งทางตรงและทางอ้อม ปัจจุบัน เข้าไปลงทุนแล้ว 2 ธุรกิจ ซึ่งจะเป็นการลงทุนที่ทำให้เข้าถึงสตาร์ทอัพที่เป็นคนตัวเล็กได้สะดวกมากขึ้น
ทั้งนี้ สิ่งที่ OR กำลังดำเนินการอยู่ก็เพื่อต้องการช่วยสนับสนุนธุรกิจของพันธมิตรต่างๆ ที่OR เข้าไปร่วมลงทุน มีโอกาสเติบโตทางธุรกิจเพิ่มขึ้น ไม่ใช่แค่การใส่เม็ดเงินร่วมลงทุนเท่านั้น แต่จะเป็นการพัฒนาระบบสนับสนุนSME ครบวงจร เพื่อที่จะทำให้ SME สามารถดำเนินธุรกิจได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะอาจจะเป็นในลักษณะของแอพพลิเคชั่น เข้ามาซัพพอร์ต โดยขณะนี้อยู่ระหว่างคุยกันพันธมิตรคนไทย คาดว่าจะเริ่มเห็นการพัฒนาระบบกับธุรกิจ F&B ออกมาได้ก่อน ซึ่งแอพพลิเคชั่นนี้ จะเปิดกว้างให้กับทุกคนเข้ามาใช้บริการได้
“ตามวิสัยทัศน์ Empowering All Toward Inclusive Growth เราไม่ได้มุ่ง Profit อย่างเดียว เรากำลังบาลานซ์เรื่อง Profit เรื่อง People และเรื่อง Planet เพราะฉะนั้น Profit เราไม่จำเป็นต้องสูงสุด แต่ถ้าเราทำให้คนมีศักยภาพมากขึ้น สังคมดีขึ้น สิ่งแวดล้อมดีขึ้น เราก็ถือว่าเป็นประโยชน์ที่OR ทำให้ประเทศ ซึ่งตอบโจทย์โมเดลธุรกิจเพื่อสังคม Social Enterprise (SE) และทำให้เกิดความยั่งยืนทางธุรกิจ”
อย่างไรก็ตาม จุดแข็งของ OR คือ มีแพลตฟอร์มทางกายภาพ (Physical platform) ที่ดึงดูดใช้ผู้บริโภคเข้ามาใช้บริการทั้งจากสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น ที่มียอดผู้เข้ามาใช้บริการเฉลี่ย 2.5 ล้านคนต่อวันทั่วประเทศ ซึ่งเดิมเข้ามาเติมน้ำมันอย่างเดียวก็จะต้องคิดค้นนวัตกรรมขึ้นมาดึงดูดการใช้บริการของผู้บริโภคให้เกิดพฤติกรรมการใช้จ่ายได้หลากหลายมากขึ้น และทำให้พันธมิตรของOR มั่นใจว่า เมื่อเข้ามาเป็นหนึ่งในโครงการข่ายธุรกิจของOR จะมีผู้มาใช้บริการอย่างแน่นอน พร้อมกับจะมีระบบบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกเหนือจากการตั้งร้านใน พีทีที สเตชั่น หรือ หากอยู่นอก พีทีที สเตชั่น ก็สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ดีขึ้นด้วยระบบเดียวกัน
ราชสุดา กล่าวว่า ในช่วงกลางปีนี้ จะเห็นการลงทุนของ OR เพิ่มเติม ในเรื่องของระบบต่างๆที่จะมาช่วยเหลือSME ร้านอาหาร ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการลงทุนด้านความสวยความงาม การท่องเที่ยว เป็นต้น เพื่อมาเติมเต็มความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายและครบวงจรมากขึ้น