ผู้ชมทั้งหมด 1,746
ไทยออยล์ ประเมินทิศทางราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้ ยังผัวผวนในกรอบแคบ หลังตลาดจับตาข้อสรุปมาตรการคว่ำบาตรการนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย ของสหภาพยุโรป คาด เวสต์เท็กซัส เคลื่อนไหวที่กรอบ 110-120 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ เคลื่อนไหวที่กรอบ 115-125 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
บริษัท ไทยออยล์ จำกัด(มหาชน) หรือ TOP เปิดเผยบทวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 30 พ.ค. – 3 มิ.ย.65 พบว่า ราคาน้ำมันดิบคาดมีความผันผวนในกรอบแคบต่อเนื่อง เนื่องจากตลาดจับตาแผนการคว่ำบาตรของยุโรปต่อการนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย ซึ่งจะมีการประชุมเพื่อหาข้อยุติในวันที่ 30-31 พ.ค. ซึ่งล่าสุดยังไม่สามารถหาข้อสรุปแบบเป็นเอกฉันท์ได้ เนื่องจากยังขาดความเห็นชอบของบางประเทศสมาชิก ขณะที่รายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ประจำเดือน พ.ค. ที่มีแผนจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 0.5% ในเดือน มิ.ย. และ ก.ค. อาจจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ นอกจากนี้ตลาดคาดการณ์ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันมีแนวโน้มฟื้นตัว หลังจีนประกาศยกเลิกมาตรการล็อคดาวน์ในเมืองเซี่ยงไฮ้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.
สำหรับ สำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้ ประกอบด้วย
- 30-31 พ.ค. ซึ่งมีวาระเพื่อพิจารณามาตรการคว่ำบาตรการนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย โดยวาระดังกล่าวต้องได้รับฉันทามติจากประเทศสมาชิก 27 ประเทศ อย่างไรก็ตาม สหภาพยุโรปอาจไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ เนื่องจากหลายประเทศ เช่น ฮังการี ยังคงไม่เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว เพราะกังวลผลกระทบรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งฮังการีพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียอยู่ในระดับสูง และยังขาดเงินทุนในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อใช้พลังงานจากแหล่งอื่นทดแทนการนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย
- 65 เปิดเผยว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด เตรียมการที่บริหารจัดการภาวะเงินเฟ้อในระดับสูง โดยมีแผนที่จะปรับขึ้นอัตรานโยบาย 0.5% ในเดือน มิ.ย. และ ก.ค. 65 ซึ่งนับเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดในรอบ 22 ปี แม้การขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว จะเป็นตามตลาดคาด แต่นักวิเคราะห์ยังคงกังวลว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่สูง อาจกดดันการเติบโตทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้
- Henan ซึ่งมีประชาชนอาศัยอยู่ราว 99 ล้านคน เพื่อให้ประชาชนเข้ารับการตรวจหาเชื้อ และกักตัว อย่างไรก็ตาม
- 1.4% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา แตะระดับ 93.2% ซึ่งนับว่าเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเดือน ธ.ค. 62 เพื่อสนับสนุนอุปทานน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดที่มีอยู่อย่างจำกัด และเพื่อรองรับอุปสงค์ฤดูกาลขับขี่ในสหรัฐฯ ที่กำลังจะมาถึงในช่วงวันหยุด US Memorial Day เป็นต้นไป
- 2 มิ.ย. ทางกลุ่มยังคงเพิ่มกำลังการผลิตในเดือน มิ.ย. ตามแผน ที่ระดับ 432,000 บาร์เรลต่อวัน โดยหลายฝ่ายคาดว่ากลุ่มโอเปกพลัสจะปฏิเสธการผลิตน้ำมันที่เพิ่มขึ้นตามข้อเรียกร้อง ล่าสุดความร่วมมือในการลดกำลังการผลิต (OPEC+ Compliance) ในเดือน เม.ย. อยู่ที่ระดับ 220% เพิ่มขึ้นจากเดือน มี.ค. ที่ 157% ตามรายงานของรอยเตอร์
- (Spare capacity) ทั่วโลกอยู่ในระดับต่ำราว 2% เท่านั้น และหากอุตสาหกรรมการบินฟื้นตัว กลับสู่ระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาด จะทำให้ความต้องการใช้เพิ่มขึ้นอีก 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน จะทำให้ตลาดน้ำมันเกิดภาวะตึงตัวอย่างมาก อย่างไรก็ตามซาอุดิอาระเบียมีแผนที่จะเพิ่มกำลังการผลิตจาก 12 ล้านบาร์เรลต่อวันเป็น 13 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2070 แต่อาจไม่ทันกับปริมาณความต้องการใช้ที่จะเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ไทยออยล์ คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 110-120 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 115-125 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ส่วนสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 23 – 27 พ.ค. 65 พบว่า ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้น 4.78 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 115.07 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เช่นเดียวกันกับราคาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ปรับเพิ่มขึ้น 6.01 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 119.43 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ขณะที่ราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 112.25 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบผันผวน ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ณ สัปดาห์สิ้นสุด 20 พ.ค. ลดลง 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น 9 สัปดาห์ต่อเนื่อง โดย ณ สัปดาห์สิ้นสุด 20 พ.ค. จำนวนแท่นขุดเจาะเพิ่มขึ้น 14 แท่น แตะระดับ 728 แท่น ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 63