“ศักดิ์สยาม” เร่งก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีชมพู-เหลือง เปิดเดินรถมิ.ย.66  

ผู้ชมทั้งหมด 1,122 


ศักดิ์สยาม” เร่งก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีชมพูคืบหน้า 94% เปิดให้บริการ ..66 ส่วนสายสีเหลือง คืบหน้า 97% เปิดให้บริการ มิ..66 พร้อมเร่งหาแนวทางการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพูกับระบบขนส่งอื่น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (รวค.) เป็นประธานประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) เพื่อติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ โดยมีนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางรางนายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย นางจันทิรา บุรุษพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม นายมนตรี เดชาสกุลสม รองอธิบดีกรมทางหลวง พร้อมด้วยผู้บริหารและผู้แทนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม 

ทั้งนี้ในปัจจุบัน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู มีความคืบหน้าอย่างมาก ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้ตั้งเป้ากำหนดการเปิดให้บริการไว้ในช่วงปี 2566 จึงได้กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพูขึ้น โดยการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งที่ 3 เพื่อติดตามผลการดำเนินการเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดให้บริการในด้านต่างๆ ทั้งในส่วนของการเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งอื่น การกำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม การขอพระราชทานนามแนวเส้นทาง และการสื่อสารสาธารณะ โดย ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2565 สายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว – สำโรง) มีความคืบหน้าการก่อสร้าง ร้อยละ 97.73 ได้รับมอบขบวนรถไฟฟ้าแล้ว 29 ขบวน จากทั้งหมด30 ขบวน มีแผนเปิดให้บริการในเดือนมิถุนายน 2566 ส่วนสายสีชมพู (ช่วงแคราย – มีนบุรี) มีความคืบหน้าร้อยละ94.00 ได้รับมอบขบวนรถไฟฟ้าแล้ว 39 ขบวน จากทั้งหมด 42 ขบวน มีแผนเปิดให้บริการในเดือนสิงหาคม 2566 โดยปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างจัดทำ Proof of Safety เพื่อตรวจสอบและประเมินความพร้อมของงานโยธาและงานระบบไฟฟ้าทั้งหมดของโครงการ ก่อนที่วิศวกรอิสระ (ICE) จะออกหนังสือรับรองความปลอดภัย เพื่อเปิดให้บริการให้แก่ประชาชนต่อไป

ในการประชุม ที่ประชุมได้หารือแนวทางการเร่งรัดโครงการให้เป็นไปตามแผนกำหนดการเปิดให้บริการ และได้หารือแนวทางการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพูกับระบบขนส่งอื่น เช่น การก่อสร้าง Skywalk เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สถานีหัวหมาก กับสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีหัวหมาก ซึ่งได้มอบหมายให้ รฟม. เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการก่อสร้าง โดยให้เสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณา รวมถึงการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการรื้อย้ายสาธารณูปโภค ซึ่งมีงานทับซ้อนกัน ณ ตำแหน่งทางขึ้นลงของสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงบริเวณถนนแจ้งวัฒนะ (สถานี PK11 – PK13) ประกอบด้วย การรื้อย้าย Duct Bank และแนวสายไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง และการก่อสร้างทางระบายน้ำ (Flood Way) ของกรมทางหลวงโดย รฟม. จะประสานงานกับกรมทางหลวง กฟน. และ ปตท. อย่างใกล้ชิดเพื่อให้แล้วเสร็จตามแผนงาน โดยสามารถเริ่มสร้างทางขึ้น-ลง ได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566

ทั้งนี้ ในการประชุม นายศักดิ์สยาม ได้มีข้อสั่งการให้คณะอนุกรรมการด้านต่างๆ ดำเนินการดังนี้ 

1. คณะอนุกรรมการด้านการเดินรถ การเชื่อมต่อการให้บริการระบบขนส่ง และการประเมินคุณภาพ 

     1.1 ให้ รฟม. ประสานงานกับ รฟท. เพื่อหารือเกี่ยวกับพื้นที่ที่ใช้ในการก่อสร้างทางเชื่อม (Skywalk) 

เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สถานีหัวหมาก และสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีหัวหมาก 

และเมื่อได้ข้อยุติแล้ว ให้เร่งรัดนำเสนอ คจร. ต่อไป

     1.2 ให้ดำเนินการร่วมกับคณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารสาธารณะ ในการประชาสัมพันธ์เรื่องการคืน

พื้นที่ผิวจราจร และการก่อสร้างทางขึ้นลงสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพูบนถนนแจ้งวัฒนะ 

     1.3 ให้ รฟม. กำชับผู้รับสัมปทานในด้านความปลอดภัยในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า และเตรียมความพร้อมรองรับการจราจรที่หนาแน่นช่วงเทศกาลปีใหม่ 

2. คณะอนุกรรมการด้านราคาค่าโดยสารและบัตรโดยสารให้ตรวจสอบที่มา และแนวทางในการคิดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู โดยเปรียบเทียบกับวิธีการคิดอัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน 

3. คณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารสาธารณะ 

    3.1 ให้ประสานข้อมูลจากคณะอนุกรรมการด้านต่างๆ เพื่อดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อประชาชน เช่น แผนการเปิดให้บริการ แนวทางการเชื่อมต่อขนส่งมวลชนระบบอื่น ๆ รวมถึงการก่อสร้างจุดขึ้น-ลงของสถานีรถไฟฟ้าบนถนนแจ้งวัฒนะ โดยให้ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

    3.2 ให้ รฟม. และผู้รับสัมปทานร่วมกันหาแนวทางการประชาสัมพันธ์ผ่าน Influencer ต่างๆ โดยให้มีการศึกษากลุ่มเป้าหมาย (Target Group) ที่จะสื่อสาร เพื่อให้สามารถจัดหาวิธีการนำเสนอที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย และสอดคล้องกับสื่อสังคมออนไลน์ที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว 

4. คณะอนุกรรมการด้านการเตรียมการขอพระราชทานนามแนวเส้นทางโครงการให้ดำเนินการขอพระราชทานนามสำหรับทั้ง 2 โครงการ โดยปฏิบัติตามขั้นตอนและระเบียบที่เกี่ยวข้อง