ราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้อาจปรับลดลง หลังตลาดกังวลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก

ผู้ชมทั้งหมด 1,782 

ไทยออยล์ ชี้ ราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้มีแนวโน้มปรับตัวลดลง หลังตลาดกังวลต่อภาพการเติบโตของเศรษฐกิจโลก คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 68-75 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 73-80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP เปิดเผยบทวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 22 – 26 ม.ค. 67 พบว่า ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลง เนื่องจากความกังวลต่อภาพการเติบโตของเศรษฐกิจในเขตเศรษฐกิจหลักของโลกอันได้แก่ สหรัฐฯ และจีน โดยในฝั่งของสหรัฐฯ ตลาดเริ่มไม่มั่นใจว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดดอกเบี้ยตามที่ได้แจ้งไว้ใน Dot Plot ของการประชุมครั้งที่ผ่านมา ขณะที่จีนซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับที่สองของโลก เผชิญกับภาวะเงินฝืดหลังดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตยังคงหดตัวในเดือน ธ.ค. 66 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ รายงานฉบับล่าสุดของธนาคารโลก (World Bank) บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง

อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงได้รับแรงสนับสนุนจากสภาพอากาศหนาวเย็นฉับพลัน (Cold Snap) ในสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลให้อุปทานมีแนวโน้มตึงตัวขึ้น นอกจากนี้อุปทานน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับลดลงเนื่องจากปริมาณการผลิตน้ำมันจากชั้นหินดินดานและจำนวนแท่นขุดเจาะปรับตัวลดลง ประกอบกับสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ที่ยังคงมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้นได้เป็นระยะ

สำหรับบปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้ ประกอบด้วย

  • (FED) ที่อาจมีความไม่แน่นอน เนื่องจากนายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในคณะกรรมการของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) เผยว่า FED จะดำเนินนโยบายการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เมื่ออัตราเงินเฟ้อมีสัญญาณปรับตัวลดลงที่ชัดเจน โดยล่าสุดอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เดือน ธ.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 3.4% สูงขึ้นกว่าเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 3.1% ซึ่งตรงข้ามกับ Dot Plot ของ FED ในการประชุมซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 12 – 13 ธ.ค. ที่ผ่านมา ณ์ที่บ่งชี้ว่า FED จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 อย่างไรก็ตาม Reuters Poll คาดการณ์ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน มิ.ย. 67
  • NBS) รายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคของจีนเดือน ธ.ค. 66 ปรับตัวลดลง 0.3% โดยอัตราเงินเฟ้อที่ปรับลดลงถือเป็นตัวเลขที่ติดลบเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคของจีน ปี 2566 ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 0.2% โดยตัวเลขดังกล่าวต่ำกว่าเป้าหมายของรัฐบาลจีนที่ระดับ 3% นอกจากนี้ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือน ธ.ค. 66 ปรับตัวลดลงที่ระดับ 2.7% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 2.6% เช่นเดียวกัน ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตที่ติดลบบ่งชี้ว่าจีนอยู่ในสภาวะเงินฝืด ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน
  • (World Bank) บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2567 จะเติบโตที่ระดับ 2.4% ลดลงจากปีก่อนหน้าที่ระดับ 2.6% โดยสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์ในหลายภูมิภาค อาทิ ความขัดแย้งในตะวันออกกลางโดยเฉพาะในอิสราเอล – ฮามาส และความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน เป็นปัจจัยที่เข้ามาสร้างความกังวลต่ออุปทานน้ำมันตึงตัวและราคาน้ำมันดิบ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อให้มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้
  • Cold Snap) ในรัฐนอร์ทดาโคตา ซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำมันขนาดใหญ่อันดับต้นของสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลกระทบต่อกำลังการผลิตน้ำมันปรับลดลง 650,000 ถึง 700,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งมากกว่า 50% ของกำลังการผลิตในสภาวะปกติ ขณะเดียวกันรายงานพยากรณ์อากาศบ่งชี้ว่าในช่วงปลายเดือน ม.ค. อุณหภูมิใน 48 รัฐตอนล่างของสหรัฐฯ จะอุ่นขึ้นกว่าปกติ ปัจจัยดังกล่าวกดดันต่อความต้องการใช้เชื้อเพลิงในเครื่องทำความร้อน
  • (EIA) คาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตน้ำมันจากชั้นหินดินดาน (Shale Oil) ในเดือน ก.พ. 67 จะปรับตัวลดลง 0.12% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า การลดลงดังกล่าวถือเป็นการลดลง 5 เดือนติดต่อกัน ขณะที่ Baker Hughes รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบและก๊าซของสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 12 ม.ค. ปรับตัวลดลง 2 แท่นมาอยู่ที่ระดับ 619 แท่น และจำนวนแท่นขุดเจาะทั้งหมดยังต่ำกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว 20% หรือคิดเป็นจำนวนที่ลดลง 156 แท่น
  • Gibraltar Eagle แม้ก่อนหน้านี้กองกำลังร่วมซึ่งนำโดยสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรได้โจมตีฐานที่มั่นของกลุ่มฮูตีในเยเมน ขณะที่กองกำลังของอิหร่านได้โจมตีศูนย์บัญชาการหน่วยมอสซาดของอิสราเอลในอิรักและกลุ่มต่อต้านอิหร่านในซีเรียและปากีสถาน
  • เศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ได้แก่ ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ อันได้แก่ GDP ไตรมาสที่ 4/2566 และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและบริการเดือน ม.ค. 67 และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและบริการเดือน ม.ค. 67 ของสหภาพยุโรปฯ

ทั้งนี้ ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 68-75 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 73-80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ส่วนสรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 15 – 19 ม.ค. 67 พบว่า ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้น 0.73 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 73.41 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เช่นเดียวกันกับราคาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ปรับเพิ่มขึ้น 0.27 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 78.56 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 78.80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เนื่องจากอุปทานมีแนวโน้มตึงตัวขึ้น จากสภาพอากาศที่หนาวจัดในรัฐนอร์ท ดาโคตา ซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำมันขนาดใหญ่อันดับต้นของสหรัฐฯ ด้านสำนักงานพลังงานสากล (IEA) คาดการณ์ว่าอุปสงค์น้ำมันในปี 2567 นี้จะปรับเพิ่มสู่ระดับ 1.24 ล้านบาร์เรลต่อวัน และกลุ่มโอเปกคาดว่าอุปสงค์น้ำมันโลกจะปรับเพิ่มกว่า 2.25 ล้านบาร์เรลต่อวัน

นอกจากนี้ตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 12 ม.ค. 67 ปรับลดลง 2.5 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 429.9 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะลดลงเพียง 0.3 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม ตลาดได้รับแรงกดดันภายหลังสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัวเพียง 5.2% ในไตรมาส 4/66 เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 5.3% ซึ่งอาจทำให้จีนต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในรูปแบบต่างๆ