ปี 68 ทช.ก้าวสู่ปีที่ 23 อัดงบลงทุน 1 หมื่นล้าน เดินหน้าสร้างถนน 14 โครงการใหญ่

ผู้ชมทั้งหมด 46 

ปี 68 ทช. ก้าวสู่ปีที่ 23 อัดงบลงทุนกว่า 1 หมื่นล้านบาท เร่งเดินหน้าสร้างถนน สะพาน พัฒนาโครงข่ายคมนาคม 14 โครงการใหญ่ พร้อมตั้งเป้ารับโอนถนนท้องถิ่นกว่า 1 หมื่นกม. มาอยู่ในความดูแล หวังช่วยยกระดับมาตรฐานทาง

ผู้สื่อขาวรายงานว่า เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ที่ กรมทางหลวงชนบม (ทช.) นายชยธรรม์ พรหมศรปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธี เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมทางหลวงชนบท (ทช.) ครบรอบ 22 ปี ก้าวสู่ปีที่ 23 โดยมี นายมนตรี เดชาสกุลสม อธิบดีทช. พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงคมนาคม เจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วม

นายชยธรรม์ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมภายใต้การนำของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีเป้าหมายสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ด้วยการสร้างระบบการคมนาคมขนส่งให้มีมาตรฐาน และสร้างโอกาสในการเดินทางให้กับคนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง เท่าเทียม พร้อมทั้งสามารถเชื่อมโยงในทุกมิติ ทั้งมิติทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การค้า การท่องเที่ยว การลงทุน เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ประเทศไทยเป็นประตู และเป็นศูนย์กลางในการเดินทางของภูมิภาค ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัย

โดยที่ผ่านมา ทช.ที่ได้ดำเนินการพัฒนาโครงการต่าง ๆ เชื่อมโยงเป็นโครงข่ายคมนาคมที่สมบูรณ์ ซึ่งจะส่งผลต่อการเดินทางของประชาชนที่สะดวก รวดเร็ว แบ่งเบาการจราจรบนถนนสายหลัก ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจการค้า อุตสาหกรรมท่องเที่ยว พร้อมรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคต

สำหรับภารกิจสำคัญของ ทช.คือ การวางโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานทางถนนเชื่อมโยงอย่างครบถ้วนกับถนนของกรมทางหลวง (ทล.) และถนนของท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางจากต้นทางไปสู่ปลายทางได้อย่างสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย อย่างไรก็ตามขณะนี้ทช.ยังมีภารกิจเร่งด่วนที่ต้องเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัย (น้ำท่วม) เพื่อให้ประชาชนเดินทางได้ และเร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนทีไม่สามารถเดินทางได้ เรื่องจากถามถูกตัดขาดจากน้ำท่วม จากนั้นต้องเก็บข้อมูลหลังน้ำลดเพื่อปรับปรุงแก้ไข รวมถึงวางแผนรองรับในอนาคต เนื่องจากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงจากพายุ ฝนตกหนัก รุนแรงขึ้น และทิศทางน้ำเปลี่ยน จึงจำเป็นต้องวางแนวทางป้องกันอย่างจริงจัง  ตลอดจนซักซ้อมแผนเผชิญเหตุด้วย

ด้าน นายมนตรี กล่าวว่า ตลอดปี 2567 ทช. ได้ดำเนินโครงการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตทางด้านการคมนาคมของประชาชนในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้านการคมนาคมระบบโลจิสติกส์ ด้านการส่งเสริมเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก และด้านการสนับสนุนเส้นทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยว อาทิ โครงการก่อสร้างถนนสายแยก ทล.1020 – บ้านกิ่วแก้ว อ.เทิง, จุน จ.เชียงราย, พะเยา งบประมาณ 1,199 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างขยายถนนชัยพฤกษ์ จ.นนทบุรี งบประมาณ 902 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างถนนสายแยก ทล.3452 – สี่แยกบ้านสร้าง อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี ตอนที่ 1 งบประมาณ 899.999 ล้านบาท และตอนที่ 2 งบประมาณ 900 ล้านบาท,

โครงการก่อสร้างถนนสาย มห.3019 แยก ทล.212 – บ้านบางทรายใหญ่ อ.เมือง จ.มุกดาหาร งบประมาณ 804.159 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างถนนสาย นย.3007 แยก ทล.305 – บ้านคลอง 33 อ.องครักษ์ จ. นครนายก งบประมาณ 716.350 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างสะพานข้ามคลองตำมะลัง อ.เมือง จ.สตูล งบประมาณ 433.190 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างถนนสาย พร.4001 แยก ทล.1022 – บ้านกลาง อ.เมือง จ.แพร่ งบประมาณ 126.100 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างถนนสาย แยก ทล.118 – บ้านทุ่งยาว (ช่วงที่ 1) อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย งบประมาณ 84.090 ล้านบาท

นายมนตรี กล่าวว่า สำหรับโครงการสนับสนุนนโยบายรัฐบาล และกระทรวงคมนาคมในการส่งเสริมเศรษฐกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งมีส่วนช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมุ่งดำเนินโครงการก่อสร้างสายทาง เพื่อสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยวให้ประชาชนเดินทางด้วยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย อาทิ โครงการก่อสร้างถนนเลียบแม่น้ำโขง นาคาวิถี ช่วงสะพานมิตรภาพไทย – ลาว (แห่งที่ 2) – พระธาตุพนม อ.เมือง, ธาตุพนม จ.มุกดาหาร, นครพนม งบประมาณ 615 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างถนนท่องเที่ยวตะนาวศรีคีรีพัฒน์ ช่วงสามแยกถนนชัยพัฒนาตัดกับ ทล.3218 – ทล.4 อ.หัวหิน, ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ งบประมาณ 700 ล้านบาท และช่วงบ้านเขาบันได – บ้านพุน้ำร้อน อ.หนองหญ้าปล้อง, เขาย้อย จ.เพชรบุรี งบประมาณ 720 ล้านบาท นอกจากนี้ทช.ยังมีแผนงานที่จะพัฒนาถนนสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจที่ดีให้กับประเทศ สร้างโอกาสในการเข้าถึงเส้นทางการคมนาคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับในช่วงสถานการณ์อุทกภัยที่ผ่านมา นายสุริยะ ได้สั่งการให้ ทช. เตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในทุกมิติ ทั้งมิติด้านเครื่องมืออุปกรณ์ และมิติกำลังเจ้าหน้าที่ พร้อมบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว รวมทั้งให้เร่งฟื้นฟูสายทางที่ประสบเหตุอุทกภัยอย่างเร่งด่วน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้สัญจรได้อย่างปลอดภัย

ทั้งนี้ตนได้เตรียมแผนเผชิญเหตุในการรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยสั่งการไปยังสำนักงานทางหลวงชนบท และแขวงทางหลวงชนบทในพื้นที่เสี่ยงภัย ให้ดำเนินการจัดเตรียมถุงทรายสำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉิน พร้อมลงพื้นที่ตรวจสอบสายทางที่ประสบเหตุอุทกภัย เพื่อแก้ไขปรับปรุง และหาแนวทางป้องกันในปีต่อไป รวมทั้งเตรียมการสำรวจสะพานในพื้นที่เสี่ยงกับการเกิดเหตุอุทกภัย เพื่อดำเนินการวางแผน หากมีความจำเป็นต้องยกสะพานให้สูงขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาระยะยาวในอนาคต

นายมนตรี กล่าวว่า ในยุคที่ตนเป็นอธิบดี ทช.ตั้งเป้าพัฒนาโครงการถนนเชื่อมทล. และเข้าสู่ชุมชนให้สมบูรณ์ รวมถึงทยอยรับมอบถนนจากท้องถิ่นประมาณกว่า 1 หมื่น กม.มาอยู่ในความดูแลของทช.และพัฒนาให้ได้มาตรฐานทาง โดยเน้นโครงข่ายที่เชื่อมเข้าสู่ชุมชนอย่างแท้จริง  ที่สำคัญยังตั้งเป้าเบิกจ่ายงบประมาณปี 2568 ให้ได้ 100% ภายในเดือนกันยายน 2568 ด้วย

สำหรับในปีงบ 2568 ทช.ได้รับจัดสรรงบฯ จำนวน 5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น งบลงทุน 49,144 ล้านบาท งานปีเดียว 40,448 ล้านบาท งานผูกพันใหม่ 2,628 ล้านบาทและผู้พันเดิม 6,067 ล้านบาท โดยมีโครงการสำคัญที่จะดำเนินการก่อสร้างในปี 2568 จำนวน 14 โครงการ มูลค่ารวม 10,310 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.โครงการก่อสร้างถนนสายแยก ทช.ชม.3029 – แยก ทล.1006 อ.เมืองเชียงใหม่, สันกำแพง จ.เชียงใหม่ (ตอนที่ 1) ระยะทาง 3.365 กิโลเมตร(กม.) วงเงิน 770 ล้านบาท

2.โครงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับสันป้าตอง อ.สันป้าตอง จ.เชียงใหม่ จำนวน 1แห่ง วงเงิน 1,250 ล้านบาท 3. โครงการก่อสร้างถนนสาย ชบ.3009 แยก ทล.331 – บ.หนองคล้า (ตอนแยก ทล.331 – ทล.7) อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ตอนที่ 1 ระยะทาง 3.500 กม.วงเงิน 670 ล้านบาท 4. โครงการก่อสร้างถนนสาย ง3 ผังเมืองรวมเมืองหนองคาย จ.หนองคาย ระยะทาง  2.811 กม. วงเงิน 680 ล้านบาท

5. โครงการก่อสร้างถนนท่องเที่ยวตะนาวศรีคีรีพัฒน์ ช่วงสามแยกถนชัยพัฒนาตัดกับ ทล.3218 – ทล.4 อ.หัวหิน,ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 44.520 กม. วงเงิน700 ล้านบาท 6. โครงการก่อสร้างถนนสาย ปท.5021 แยกถนนเทศบาลท่าโขลง – บ.คลองสิบสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ระยะทาง 32.655 กม.วงเงิน  800 ล้านบาท 7. โครงการก่อสร้างถนนสาย ง ผังเมืองรวมเมืองทุ่งสูง จ.นครศรีธรรมราช ระยะทาง 5.589 กม. วงเงิน 910 ล้านบาท

8. โครงการก่อสร้างถนนสาย ชบ.3009 แยก ทล.331 – บ.หนองคล้า (ตอนแยก ทล.331 – ทล.7) อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ตอนที่ 2 ระยะทาง 4.817 กม.วงเงิน 750 ล้านบาท 9. ท่องเที่ยวถนนท่องเที่ยวตะนาวศรีคีรีพัฒน์ ช่วง บ.เขาบันได – บ.พน้ำร้อน อ.หนองหญ้าปล้อง,เขาย้อย จ.เพชรบุรี ระยะทาง 37.240 กม.วงเงิน 720 ล้านบาท

10. โครงการก่อสร้างถนนสาย ค2-1 และ ค2-2 ผังเมืองแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก ระยะทาง 7.631 กม.วงเงิน 620 ล้านบาท 11. โครงการก่อสร้างถนนสาย ค ผังเมืองรวมเมืองหล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ระยะทาง 5.089 กม.วงเงิน 620 ล้านบาท

12. โครงการก่อสร้างถนนสาย บก.3009 แยก ทล.212 – บ.โนนจำปาทอง อ.เซกา,บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ ระยะทาง 46.275 กม.วงเงิน 620 ล้านบาท 13 .โครงการก่อสร้างถนนสาย อย.3006 แยก ทล.340 – ทล.3111 อ.ลาดบัวหลวง,บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ระยะทาง 15.289 กม.วงเงิน 900 ล้านบาท และ 14.โครงการก่อสร้างทางต่างระดับบนถนนสาย ทช.ชน.1014 อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท 1แห่ง วงเงิน 300 ล้านบาท

นายมนตรี กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการ ถนนเลียบแม่น้ำโขง นาคาวิถี ช่วงสะพานมิตรภาพไทย – ลาว (แห่งที่ 2)-พระธาตุพนนมอ.เมือง, ธาตุพนม จ.มุกดาหาร, นครพนม ระยะทางทั้งสิ้น 43.485 กม.วงเงินรวม 615 ล้านบาทระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี (ปีงบประมาณผูกพันปี 2567- 2569) ขณะนี้ได้ลงนามในสัญญาแล้ว เริ่มต้น สัญญาก่อสร้างวันที่ 1 ตุลาคม 2567 และสิ้นสุดสัญญาก่อสร้างวันที่ 9 มีนาคม 2570 โดยลักษณะโครงการ เป็นก่อสร้างถนน ขนาด 2 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3.00 ม. ไหล่ทางกว้างข้างละ 2.00 – 4.00 ม. พร้อมระบบระบายน้ำ ไฟฟ้าแสงสว่าง และสิ่งอำนวยความปลอดภัย โครงนี้เป็นการพัฒนาเส้นทางเลียบแม่น้ำโขงให้เป็นถนนเพื่อการท่องเที่ยวและเส้นทางชมทิวทัศน์ (Scenic Route) โดยปรับปรุงพื้นที่และทัศนียภาพบริเวณถนนเดิมให้มีความสะดวกยิ่งขึ้น