ผู้ชมทั้งหมด 910
นายรัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโส – สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บ้านปูได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของกิจการเพื่อสังคมหรือ SE ในไทย จากจุดเริ่มต้นเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วที่กิจการเพื่อสังคมยังไม่เป็นที่รู้จัก สู่ปัจจุบันที่คนในวงกว้าง โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่เริ่มมีความเข้าใจและให้ความสนใจกันมากขึ้น ซึ่งตลอดระยะเวลาของโครงการฯ เราได้ให้การสนับสนุน SE มามากกว่า 100 ทีม และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมในหลากหลายมิติ นับว่าเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจและเป็นความสำเร็จของโครงการฯ
“ทั้ง 7 ทีมในปีนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับ SE ไทยและคนรุ่นต่อๆ ไปที่อยากจะเข้ามาทำกิจการเพื่อสังคมต่อไปในอนาคต”
สำหรับ 7 ทีมที่ผ่านเข้ารอบในปีนี้ เป็นกิจการเพื่อสังคมที่มุ่งพัฒนาและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้สังคมในมิติต่างๆ ได้แก่
ด้านการพัฒนาอาชีพและชุมชน
- Green Diamond Phetchabun กิจการที่ช่วยเชื่อมโยงตลาดและพัฒนาองค์ความรู้ในการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าของการเกษตรกรรมด้วยกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานสากล เพื่อให้เกิดการยกระดับอาชีพของเกษตรกรให้มีความมั่นคง สร้างรายได้อย่างยั่งยืนควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชน
- เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนสร้างป่าสร้างรายได้จังหวัดแม่ฮ่องสอน กิจการที่ผนึกกำลังสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนกว่า 25 ชุมชน เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการเชิงท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้มีความหลากหลายและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม
ด้านสุขภาพ
- PLAKOD ธุรกิจที่นำเอาการเล่นเกมมาผนวกรวมกับกิจกรรมกายภาพบำบัดด้วยการพัฒนาจอยบังคับเกมให้กลายเป็นอุปกรณ์กายภาพบำบัดที่ทำให้ผู้เล่นได้เคลื่อนไหวร่างกายไปพร้อมกับรับความสนุก อีกทั้งยังสามารถที่เชื่อมต่อกับเครื่องเกม (Video game-based rehabilitation) เพื่อเพิ่มแรงจูงใจและสร้างทัศนคติที่ดีในการทำกายภาพบำบัดในเด็ก รวมทั้งยังสร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัว เพื่อน พี่น้อง นักกายภาพบำบัด ที่มาร่วมเล่นเกมไปพร้อมกัน
- ลูกทำได้ ธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับพัฒนาการของเด็กให้เติบโตอย่างมีศักยภาพดีที่สุดตามช่วงวัยเสมือนเป็นผู้ช่วยในการเลี้ยงลูกให้กับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ คอยให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยสังเกตพัฒนาการของเด็กเพื่อที่จะสามารถลดปัญหาความล่าช้าของพัฒนาการที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ด้านสิ่งแวดล้อม
- ธุรกิจแก้ไขปัญหาผลผลิตทางการเกษตรล้นตลาด รวมไปถึงผลผลิตที่มีรูปลักษณ์ไม่สวยงามซึ่งผู้บริโภคมักมองข้ามและอาจโดนทิ้งไว้ให้เน่าเสียจนกลายเป็นขยะแม้จะเป็นผลิตผลที่มีคุณภาพก็ตาม ธุรกิจนี้จะเข้ามาช่วยจัดการและสร้างมูลค่ากับผลผลิตเหล่านั้น ส่งมอบให้แก่ผู้บริโภคเพื่อลดปัญหาขยะเหลือทิ้ง สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี ควบคู่ไปกับการสร้างรายได้ให้เกษตรกร
- แพลตฟอร์มร้านค้าเสื้อผ้ามือสองออนไลน์ที่มีระบบการแนะนำสินค้าที่เฉพาะเจาะจงให้แก่ลูกค้ารายบุคคล (Personalized Online Thrift Store Platform) ส่งเสริมการใช้เสื้อผ้าที่ถูกผลิตแล้วให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานที่สุด สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการผลิตเสื้อผ้าและขยะจำนวนมหาศาลที่เป็นเสื้อผ้าเก่าถูกทิ้ง
- ธุรกิจที่มุ่งฟื้นฟูป่าอย่างยั่งยืน เพื่อให้มีทุนสำหรับการดูแลพื้นที่ป่าได้อย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ รวมทั้งออกแบบและวางแผนเพื่อให้เจ้าของพื้นที่และบุคคลทั่วไปได้รับประโยชน์จากพื้นที่ป่าฟื้นฟูในอนาคต
นายสุนิตย์ เชรษฐา ผู้อำนวยการสถาบัน ChangeFusion กล่าวว่า ในทุกปีจะมีเหล่าบรรดาศิษย์เก่าของโครงการ BC4C กลับมาถ่ายทอดวิชาความรู้และประสบการณ์จริงในการทำธุรกิจให้รุ่นน้องได้เรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ ผมหวังอย่างยิ่งว่า เราจะสามารถร่วมเสริมสร้างเครือข่าย SE ในประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นและสร้างการของ SE ไทยไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
ทั้ง 7 ทีมที่ผ่านเข้ารอบจะได้เข้าร่วมเวิร์คช็อปบ่มเพาะทักษะสุดเข้มข้น เรียนรู้การวางแผนการสื่อสาร การสร้างผลกระทบเชิงบวกทางสังคม การร่วมพัฒนาและทดสอบแผนการตลาดทั้งภาคทฤษฎีและการลงมือทำธุรกิจจริงตลอดระยะเวลา 3 เดือน ก่อนที่โครงการฯ จะคัดเลือกเพียง 3 ทีมชนะเลิศ โดยทีมชนะเลิศทั้งหมดจะได้รับเงินทุนสนับสนุนเพิ่มเติมรวมกว่า 750,000 บาท เพื่อนำไปสานต่อกิจการเพื่อสังคมให้บรรลุเป้าหมาย มาลุ้นกันว่ากิจการเพื่อสังคมทีมไหนจะสามารถปั้นกิจการให้เติบโตไปพร้อมๆ กับสร้างผลกระทบเชิงบวกแก่สังคมได้อย่างยั่งยืนและคว้าชัยชนะไปในที่สุด
ผู้สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าและการแข่งขันที่เข้มข้นของผู้เข้ารอบ 7 ทีมสุดท้ายในโครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม รุ่นที่ 11 หรือ Banpu Champions For Change (BC4C#11) ได้ที่ www.facebook.com/banpuchampions