ครม. ไฟเขียว มาตรการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า

ผู้ชมทั้งหมด 206 

ครม.เห็นชอบมาตรการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า พร้อมขยายเวลาการผลิตชดเชยตามมาตรการสนับสนุน EV3 ตามที่ “บอร์ดอีวี” เสนอ พร้อมมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตรวจสอบการปฏิบัติตามเงื่อนไข กำหนดวิธีปฏิบัติและค่าธรรมเนียม และออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง นำเสนอ ครม.เห็นชอบต่อไป

ผู้สื่อข่าว รายงานว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2568 ที่มี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี  เป็นประธานฯ ได้พิจารณาเรื่อง มติการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2567 โดยคณะรัฐมนตรี มีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (คณะกรรมการนโยบายฯ) เสนอ ดังนี้

1. รับทราบมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายฯ ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2567 (ตามข้อ 3)
2. ให้ความเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (มาตรการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านฯ) (ตามข้อ 3.1) และมอบหมายหน่วยงาน ดังนี้
2.1 มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) รับผิดชอบการตรวจสอบและรับรองการปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านฯ ด้านการลงทุน
2.2 มอบหมายให้กรมสรรพสามิตดำเนินการออกประกาศที่เกี่ยวข้องและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
2.3 มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) กำหนดวิธีปฏิบัติและค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมในการตรวจสอบและรับรองการปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านฯ ในด้านระดับการปล่อย CO2 การใช้ชิ้นส่วนสำคัญที่ผลิตและประกอบในประเทศไทย และการติดตั้งระบบด้านความปลอดภัย
3. ให้ความเห็นชอบการขยายเวลาการผลิตชดเชยตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV3) (มาตรการ EV3) (ตามข้อ 3.2) และมอบหมายหน่วยงาน ดังนี้
3.1 เห็นชอบการปรับปรุงเงื่อนไขมาตรการ EV3 โดยให้ผู้เข้าร่วมมาตรการ EV3 ที่ไม่สามารถผลิตชดเชยได้ครบตามเงื่อนไขที่กำหนดสามารถขยายเวลาผลิตชดเชยตามมาตรการ EV3 ไปผลิตชดเชยภายใต้เงื่อนไขมาตรการ EV3.5 ได้ โดยผู้เข้าร่วมมาตรการดังกล่าวต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด และ/หรือ ให้ส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูป (Completely Built Up: CBU) ที่นำเข้าสำเร็จภายใต้มาตรการ EV3 ไปยังต่างประเทศโดยไม่นับเป็นยอดที่ต้องผลิตชดเชย

3.2) มอบหมายให้กรมสรรพสามิตดำเนินการออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

สำหรับสาระสำคัญของเรื่องนั้น คณะกรรมการนโยบายฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2567 ได้มีมติเกี่ยวกับมาตรการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านฯ การพิจารณาข้อเสนอการขยายเวลาการผลิตชดเชยตามมาตรการ EV3 และการพิจารณาข้อเสนอการขยายเวลาการนับมูลค่าเซลล์แบตเตอรี่นำเข้าจากต่างประเทศในการคำนวณมูลค่าเพิ่มในประเทศโดยมีรายละเอียดสรุป ดังนี้
 
1. มาตรการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านฯ คณะกรรมการนโยบายฯ เห็นชอบมาตรการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านฯ โดยการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์แบบไฮบริด (HEV) และรถยนต์ Mild Hybrid Electric Vehicle (MHEV) ดังนี้

(1.1) การปรับอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่ นั่งไม่เกิน 10 คน แบบ HEV และ MHEV ในช่วงระยะเวลาระหว่างปี 2569 – 2575 กำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะรับสิทธิดังกล่าวต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขก่อนที่จะได้รับสิทธิอัตราภาษีสรรพสามิตตามมาตรการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านฯ ดังต่อไปนี้

(1.1.1) ระดับการปล่อย CO2 ไม่เกิน 100 กรัม/กิโลเมตร ให้ได้รับอัตราภาษีสรรพสามิตร้อยละ 6 และระดับการปล่อย CO2 เกิน 100 กรัม/กิโลเมตร แต่ไม่เกิน 120 กรัม/กิโลเมตร ให้ได้รับอัตราภาษีสรรพสามิตร้อยละ 9
(1.1.2) จะต้องมีการลงทุนจริงของบริษัทผู้ประกอบรถยนต์และ/หรือบริษัทในเครือของผู้ประกอบรถยนต์ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2567 – 2570 ไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาท โดยให้นับมูลค่าการลงทุนรายการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการผลิต/ประกอบรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ทุกประเภท ทั้งยานยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน(Internal Combustion Engine: ICE) และยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: xEV) ตามที่ สกท. เห็นชอบ

ทั้งนี้ จะต้องยื่นเอกสารหลักฐานการลงทุนต่อ สกท. ภายในเดือนมิถุนายน 2571 เพื่อตรวจสอบและรับรองต่อไป
(1.1.3) รถยนต์ประเภท HEV ที่ขอรับสิทธิจะต้องมีการใช้ชิ้นส่วนสำคัญที่ผลิตหรือประกอบจากในประเทศไทย ดังต่อไปนี้
          (1) จะต้องใช้แบตเตอรี่ที่มีการผลิตอย่างน้อยในระดับ Pack Assembly จากในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป
          (2) จะต้องใช้ชิ้นส่วนสำคัญที่มีมูลค่าสูง ได้แก่ กลุ่มระบบตัวแปลงกระแสไฟฟ้า (Integrated Inverter) มอเตอร์ขับเคลื่อน (Traction Motor) และเกียร์ทดรอบ (Reduction Gear) จากผู้ผลิตในประเทศไทย โดยกำหนดให้ต้องมีขั้นตอนการประกอบเป็นอย่างน้อย
          (3) จะต้องใช้ชิ้นส่วนสำคัญที่มีมูลค่าปานกลาง ได้แก่ ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS) ระบบควบคุมการขับขี่ (DCU) คอมเพรสเซอร์ระบบปรับอากาศสำหรับยานพาหนะไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่, DC/DC Converter, Electric Circuit Breaker, High Voltage Harness, Battery Cooling System และ Regenerative Braking System จากผู้ผลิตในประเทศไทยโดยกำหนดให้ต้องมีขั้นตอนการประกอบเป็นอย่างน้อย
          (4) การใช้ชิ้นส่วนสำคัญที่มีมูลค่าสูงและมูลค่าปานกลาง ให้เป็นไปตามแต่ละกรณีของขนาดการลงทุน ระหว่างปี2567 – 2570 ดังนี้
           – กรณีเงินลงทุน 5,000 ล้านบาทขึ้นไป หากเลือก 3 ชิ้นในกลุ่มชิ้นส่วนสำคัญที่มีมูลค่าสูงไม่ต้องเลือกชิ้นส่วนสำคัญที่มีมูลค่าปานกลาง หากเลือก 2 ชิ้นในกลุ่มชิ้นส่วนสำคัญที่มีมูลค่าสูงจะต้องเลือกกลุ่มชิ้นส่วนสำคัญที่มีมูลค่าปานกลาง 2 ชิ้น หากเลือก 1 ชิ้นในกลุ่มชิ้นส่วนสำคัญที่มีมูลค่าสูงจะต้องเลือกกลุ่มชิ้นส่วนสำคัญที่มีมูลค่าปานกลาง 4 ชิ้น
           – กรณีเงินลงทุน 3,000 ล้านบาทขึ้นไปแต่ไม่ถึง 5,000 ล้านบาท จะต้องเลือกทั้ง 3 ชิ้นในกลุ่มชิ้นส่วนสำคัญที่มีมูลค่าสูงเท่านั้น
(1.1.4) รถยนต์ประเภท HEV ที่ขอรับสิทธิจะต้องมีการติดตั้งระบบ ADAS อย่างน้อย4 จาก 6 ระบบ ได้แก่ ระบบเบรกฉุกเฉินขั้นสูง ระบบเตือนการชนด้านหน้าของรถ ระบบการดูแลภายในช่องจราจร ระบบเตือนการออกหรือเปลี่ยนช่องจราจร ระบบการตรวจจับจุดบอด และระบบการควบคุมความเร็วของยานยนต์

(1.2) รถยนต์ประเภท MHEV

(1.2.1) ระดับการปล่อย CO2 ไม่เกิน 100 กรัม/กิโลเมตร ให้ได้รับอัตราภาษีสรรพสามิตร้อยละ 10 และระดับการปล่อย CO2 เกิน 100 กรัม/กิโลเมตร แต่ไม่เกิน 120 กรัม/กิโลเมตร ให้ได้รับอัตราภาษีสรรพสามิตร้อยละ 12
(1.2.2) จะต้องมีการลงทุนจริงของบริษัทผู้ประกอบรถยนต์และบริษัทในเครือของผู้ประกอบรถยนต์ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2567 – 2569 ไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท และตั้งแต่ปี 2567 – 2571 ไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท โดยให้นับมูลค่าการลงทุนรายการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการผลิต/ประกอบรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ทุกประเภท ทั้ง ICE และ xEV ตามที่ สกท. เห็นชอบ
ทั้งนี้จะต้องยื่นเอกสารหลักฐานการลงทุนต่อ สกท. ภายในเดือนมิถุนายน 2570 และเดือนมิถุนายน 2572 เพื่อตรวจสอบและรับรองต่อไป
(1.2.3) รถยนต์แบบ MHEV ที่ขอรับสิทธิจะต้องมีการใช้ชิ้นส่วนสำคัญที่ผลิตหรือประกอบจากในประเทศไทย ดังต่อไปนี้
          (1) จะต้องมีขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วนหลักของเครื่องยนต์ อย่างน้อย 4 ใน 5 ชิ้น ได้แก่ Cylinder Head, Cylinder Block, Crankshaft, Camshaft และ Connecting Rod โดยต้องมีขั้นตอนการ Machining Cylinder Head, Cylinder Block และ Crankshaft เป็นอย่างน้อยในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป
          (2) จะต้องใช้แบตเตอรี่ที่มีการผลิตอย่างน้อยในระดับ Pack Assembly จากผู้ผลิตในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป
          (3) จะต้องใช้ชิ้นส่วนสำคัญ ได้แก่ มอเตอร์ขับเคลื่อน (Traction Motor) หรือชิ้นส่วน ที่มีลักษณะการทำงานเพื่อเสริมแรงขับเคลื่อนจากผู้ผลิตในประเทศไทย โดยกำหนดให้ต้องมีขั้นตอนการประกอบเป็นอย่างน้อย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2571 เป็นต้นไป
(1.2.4) รถยนต์แบบ MHEV ที่ขอรับสิทธิจะต้องมีการติดตั้งระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง (Advanced Driver Assistance Systems: ADAS) อย่างน้อย 4 จาก 6 ระบบ ได้แก่ ระบบเบรกฉุกเฉินขั้นสูง ระบบเตือนการชนด้านหน้าของรถ ระบบการดูแลภายในช่องจราจร ระบบเตือนการออกหรือเปลี่ยนช่องจราจร ระบบการตรวจจับจุดบอด และระบบการควบคุมความเร็วของยานยนต์ที่เหมาะสมในการตรวจสอบและรับรองการปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรการดังกล่าว ในด้านระดับการปล่อย CO2 การใช้ชิ้นส่วนสำคัญที่ผลิตหรือประกอบในประเทศไทยและการติดตั้งระบบด้านความปลอดภัย และนำเสนอคณะกรรมการนโยบายฯ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

2. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้

(2.1) มอบหมายให้ สกท. รับผิดชอบการตรวจสอบและรับรองการปฏิบัติตามเงื่อนไขด้านการลงทุนของมาตรการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านฯ

(2.2) มอบหมายให้กรมสรรพสามิตรับผิดชอบการออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามมาตรการดังกล่าวและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
(2.3) มอบหมายให้ อก. กำหนดวิธีปฏิบัติและค่าธรรมเนียม