ผู้ชมทั้งหมด 927
“ทางหลวง” บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกู้เส้นทางน้ำท่วม พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือ ผู้ประสบภัย บรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนเดินทางได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมบนทางหลวงในขณะนี้นั้น โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางในขณะนี้นั้น ได้สั่งการให้หน่วยงานในพื้นที่เร่งดำเนินการภารกิจกู้เส้นทางในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ กั้นน้ำโดยการวางกระสอบทราย พร้อมทำการติดตั้งป้ายเตือนแนวทาง และบูรณาการให้ความช่วยเหลือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้รับความสะดวกปลอดภัยในการสัญจรโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง ตามข้อสั่งการของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ดังนี้
แขวงทางหลวงสิงห์บุรี ได้บูรณาการร่วมกับทางหลวงชนบทสิงห์บุรีและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี โดยให้การสนับสนุนรถบดในการดำเนินการลงวัสดุเพื่อกู้เส้นทางฉุกเฉินทางเชื่อมต่อบริเวณแยกหนองสุ่มถึงสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 250 ม.เพื่อให้สามารถสัญจรไปมาระหว่างสองฝั่งเทศบาลและอำเภออินทร์บุรีได้
แขวงทางหลวงศรีสะเกษที่ 1 ดำเนินการกู้สายทางที่ถูกน้ำท่วมบนทางหลวงหมายเลข 2373 ตอน โนนสำนัก – ดอนไม้งาม บริเวณ กม.12+000 – 16+050 จัดนำกำลังเจ้าหน้าที่วางแนวกระสอบทรายเพื่อลดความแรงของกระแสน้ำ และเปลี่ยนทางน้ำให้ไหลเข้าไปตามช่องระบายน้ำเพื่อให้การจราจรผ่านได้โดยเร็ว ขณะนี้เปิดการจราจรแล้ว
แขวงทางหลวงอยุธยา ดำเนินการสูบน้ำที่เอ่อล้นจากคลองแม่น้ำน้อยท่วมผิวจราจรและปั้นคันดินด้วยรถแบกโฮ พร้อมซ่อมหลุมบ่อผิวทาง บนทางหลวงหมายเลข 3454 ตอน หน้าโคก – เสนา ช่วง กม.102+100 – 103+600 ช่วง กม. 104+100 – 105+200 และช่วง กม.106+100 – 107+130 นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการสูบน้ำออกจากผิวทางและวางกระสอบทรายบนทางหลวงหมายเลข 3412 ตอน บางบาล – ผักไห่ ช่วง กม.19+807 – 20+800 เป็นช่วงๆ ระยะทางยาวประมาณ 300 เมตร
แขวงทางหลวงกาฬสินธุ์ จัดเจ้าหน้าที่บริการให้ความช่วยเหลือของประชาชนทางหลวงหมายเลข 214 สาย กาฬสินธุ์ – ร้อยเอ็ด ช่วงบ้านท่ากลาง ตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย
สำหรับสถานการณ์อุทกภัยและดินสไลด์บนทางหลวง พบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์ ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ จ.ขอนแก่น, จ.ศรีสะเกษ, จ.หนองบัวลำภู , จ.อุบลราชธานี, จ.มหาสารคาม, จ.กาฬสินธุ์, จ.อ่างทอง, จ.พระนครศรีอยุธยา, จ.สิงห์บุรี และ จ.ภูเก็ต จำนวน 20 สายทาง 26 แห่ง ที่การจราจรผ่านไม่ได้ 16 แห่ง ดังนี้
1. จังหวัดขอนแก่น จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 2065 ตอน พล – ลำชี ในพื้นที่ อ.พล ช่วง กม.ที่ 33+150 – 34+000 ทางขาด ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน คาดว่าการจราจรผ่านได้ 30 ตุลาคม 2565
2. จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 2083 ตอน หัวช้าง – สะเดา ในพื้นที่ อ.ราษีไศล ช่วงกม.ที่ 16+000 – 19+500 ระดับน้ำ 30 -40 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้ ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน, ทางหลวงหมายเลข 2086 ตอน บ้านด่าน – เมืองน้อย ในพื้นที่ อ.ราษีไศล ช่วงกม.ที่ 27+500 – 29+000 ระดับน้ำ 30 – 40 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้ ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน, ทางหลวงหมายเลข 2086 ตอน บ้านด่าน – เมืองน้อย ในพื้นที่ อ.ราษีไศล ช่วง กม.ที่ 30+000 – 31+500 ระดับน้ำ 35 – 40 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้ ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน,
ทางหลวงหมายเลข 2086 ตอน เมืองน้อย – กันทรารมย์ ในพื้นที่ อ.กันทรารมย์ ช่วง กม.ที่103+500 – 107+125 ระดับน้ำ 40 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน, ทางหลวงหมายเลข 2373 ตอน โนนสำนัก – ดอนไม้งาม ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 12+000 – 16+050 ระดับน้ำ 30 – 40 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้ ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน, ทางหลวงหมายเลข 2412 ตอน ท่าศาลา – ละทาย ในพื้นที่ อ.กันทรารมย์ ช่วง กม.ที่ 12+000 – 16+500 เป็นช่วงๆ ระดับน้ำ 40 – 50 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้ ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
3. จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 4 แห่ง ทางหลวงหมายเลข 24 ตอน วารินชำราบ – อุบลราชธานี ในพื้นที่ อ.วารินชำราบ ช่วง กม.ที่ 418+400 – 419+600 ระดับน้ำ 35 – 40 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยง ทล.217, ทางแยกต่างระดับบัวเทิง เลี้ยวซ้ายไปสะพานข้ามแม่น้ำมูล เข้าสู่ตัวเมืองอุบลราชธานี, ทางหลวงหมายเลข 226 ตอน ห้วยขะยุง – วารินชำราบ ในพื้นที่ อ.วารินชำราบ ช่วง กม.ที่ 319+600 – 319+800 ระดับน้ำ 30 ซม. ใช้ทางเลี่ยง ทล.2178 คาดว่าการจราจรจะผ่านได้ 5 พฤศจิกายน 2565, ทางหลวงหมายเลข 231 ถนนวงแหวนรอบเมืองอุบลราชธานี ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 3+600 – 8+200 ระดับน้ำ 35 – 70 ซม. ใช้ทางเลี่ยงถนนวงแหวนด้านทิศตะวันออก ทล.231 คาดว่าการจราจรจะผ่านได้ 5 พฤศจิกายน 2565, ทางหลวงหมายเลข 2404 ตอน เขื่องใน – นาคำใหญ่ ในพื้นที่ อ.เขื่องใน ช่วง กม.ที่ 14+120 – 14+550 เป็นช่วงๆ ระดับน้ำ 40 – 45 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยง ทล.2382 คาดว่าการจราจรจะผ่านได้ 26 ตุลาคม 2565
4.จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 1 แห่ง ทางหลวงหมายเลข 2391 ตอน กู่ทอง – บ้านเขื่อน ช่วง กม.ที่ 23+900 – 24+900 ระดับน้ำ 55 ซม. ให้ใช้ทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
5.จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 1 แห่ง ทางหลวงหมายเลข 214 ตอน บ้านหลุบ – ลำชี ในพื้นที่ อ.กมลาไสย ช่วง กม.ที่ 23+200 – 27+500 ระดับน้ำ 85 ซม. ให้ใช้ทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
6.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 1 แห่ง ทางหลวงหมายเลข 3412 ตอน อยุธยา – บางบาล ในพื้นที่ อ.บางบาล ช่วง กม.ที่ 13+500 – 15+950 ระดับน้ำ 40 ซม. ให้ใช้ทางเลี่ยง เลี้ยวซ้ายเข้าวัดบ้านขวางออกทางหลวงชนบท 4038 คาดว่าการจราจรจะผ่านได้ 1 พฤศจิกายน 2565
7.จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 1 แห่ง ทางหลวงหมายเลข 311 ตอน แยกวัดสนามไชย – วัดกระดังงา ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 33+022 – 35+100 ระดับน้ำ 70 – 80 ซม. (ทางโค้งด้านใน) การจราจรไม่สามารถผ่านได้ ให้ใช้ทางเลี่ยงทางหลวงชนบท สห.3030 คาดว่าการจราจรผ่านได้ 30 ตุลาคม 2565
8.จังหวัดภูเก็ต จำนวน 1 แห่ง ทางหลวงหมายเลข 4029 ตอน กะทู้ – ป่าตอง ในพื้นที่ อ.กะทู้ ช่วง กม.ที่ 0+000 – 0+005 พื้นผิวจราจรเกิดการสไลด์ตัว ให้ใช้ทางเลี่ยง ทล.4025, 4028 และ 4030 การจราจรคาดว่าสัญจรผ่านได้ภายใน 7 วัน
ทั้งนี้ ในส่วนของป้ายทะเบียนรถที่สูญหายจากอุทกภัยในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ หมวดทางหลวงและแขวงทางหลวงในพื้นที่ หากประชาชนต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจร หรือ ต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อ ได้ที่สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงในพื้นที่ และสายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) และสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์สภาพเส้นทางและเส้นทางเลี่ยงได้ที่ทวิตเตอร์กรมทางหลวง @prdoh1